วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552

แบบจำลองกระบวนการพัฒนาระบบ System Development Process Model

แบบจำลองกระบวนการพัฒนาระบบ หมายถึง การจำลองภาพของกระบวนการพัฒนาระบบ เพื่อให้เห็นถึงการจัดโครงสร้างลำดับขั้นตอนของกระบวนการในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปโดย แบบจำลองกระบวนการ เป็นการนำเสนอกระบวนการพัฒนาระบบในแบบนามธรรม ดังนั้น รายละเอียดของกระบวนการพัฒนาที่ปรากฎในแบบจำลองกระบวนการจึงเป็นรายละเอียดเพียง บางส่วนเท่านั้น
แบบจำลองกระบวนการพัฒนา คือ แนวคิด ซึ่งใช้เป็นกรอบของขั้นตอนและแบบแผนสำหรับการดำเนินกิจกรรมการพัฒนาระบบด้านต่างๆ
แบบจำลองการพัฒนา ควรเป็น อิสระ ต่อวิธีการที่จะใช้พัฒนาระบบ ตลอดจนเทคนิคและเครื่องมือที่จะใช้พัฒนาระบบ
รูปแบบทั่วไปของโมเดลกระบวนการพัฒนา
-Waterfall Model
- Iterative and Incremental Model
- Evolutionary Model
- Reused-Oriented Model
ผมขอยกตัวอย่าง แบบจำลองกระบวนการพัฒนาระบบสารสนเทศในรูปแบบ Waterfall Model


Waterfall Model เป็นแบบจำลองกระบวนการพัฒนาระบบแบบดั่งเดิม โดยมีแนวคิดว่ากิจกรรมหนึ่งจะเริ่มต้นดำเนินการได้ก็ต่อเมื่อกิจกรรมก่อนหน้าได้ทำเสร็จสิ้นสมบูรณแล้วในปัจจุบันนักพัฒนาระบบได้ตระหนักแล้วว่า Waterfall Model ไม่เหมาะสมกับการนำมาใช้เป็นแบบแผนของการพัฒนาระบบพัฒนาระบบอีกต่อไป เนื่องจากระบบในปัจจุบันมีความซับซ้อน นักพัฒนาระบบเองไม่สามารถตอบได้อย่างแน่นอนว่ากิจกรรมที่ได้ดำเนินการนั้นได้ทำเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้วหรือยัง
ถ้านำ Product ที่ยังไม่สมบูรณ์ไปพัฒนาต่อในขั้นตอนกิจกรรมต่อไปก็จะทำให้ Product ที่จะได้จากขั้นตอนต่อไปไม่สมบูรณ์เช่นกัน เปรียบเสมือนการส่งมอบความเสี่ยงให้กันเป็นทอดๆ

คุณลักษณะของ Waterfall Model

• เป็นSeriesของขั้นตอนการทำงาน คล้ายสายงานการผลิต (Product Line)
• แต่ละขั้น หน้าที่และProduct ถูกกำหนดอย่างชัดเจน
• Product ส่วนใหญ่เป็นเอกสาร (Document)
• Productที่ผลิตในแต่ละขั้นจะเป็นพื้นฐานสำหรับงานขั้นต่อไป
• สามารถตรวจสอบความถูกต้องของงานในแต่ละขั้นได้

ข้อดีของ Waterfall Model

• แบ่งงานยากให้เป็นงานที่เล็ก ง่ายต่อการจัดการ
• มีการกำหนดProductที่ต้องส่งมอบในแต่ละงาน อย่างชัดเจน

ข้อจำกัดของ Waterfall Model

ถ้าค้นพบข้อผิดพลาดของขั้นที่เสร็จสิ้นแล้ว ไม่สามารถแก้ไขได้ การแก้ไขจำเป็นต้องเริ่มรอบ (Iteration) ใหม่ ระหว่างการทำCoding เจอข้อผิดพลาดในงานออกแบบในความเป็นจริง หลังการทำงานในแต่ละขั้นควรสามารถย้อนไปแก้ไขความผิดพลาดในขั้นใดใดก็ได้ก่อนหน้า
ดังนั้นในทางปฏิบัติ ขั้นตอนการทำงานใน Waterfall จึงไม่เป็นเชิงเส้น (Linear)

ข้อเสียหลักคือ ลูกค้าเห็นและทดลองใช้Software ก็ต่อเมื่อถึง ขั้นตอนสุดท้าย หากมีบางอย่างที่ไม่ตรงกับความต้องการของลูกค้า
การแก้ไขยาก แพง เสียเวลา
จากข้อมูลข้างต้นยังมีแบบจำลองกระบวนการพัฒนาระบบสารสนเทศอีกหลายรูปแบบ ซึ่งถ้าเพื่อนคนไหนจะเสนอรูปแบบอื่นๆอีกได้นะครับและหวังว่าเพื่อนๆจะได้รับความรู้ไม่มากก็น้อยกับเรื่องนี้ ถ้าไม่เข้าใจยังไง เดี๋ยวอาจารย์เค้าก็จะสอนเราอีกทีใช่ไหมครับ

แหล่งที่มา - cs.udru.ac.th/rewadee/download/sw.../SoftwareProcess.ppt

- learners.in.th/file/wuttipongr/DevMethodology.ppt

วรุตม์(เน)

4 ความคิดเห็น:

  1. คราวหน้าไม่มีช่องว่างแล้วครับ

    วรุตม์(เน)

    ตอบลบ
  2. อืมม เน ... อ่านบทความของเนแล้ว เกิดความคิดที่ว่า แล้วครูยังจะเหลืออะไรให้สอนล่ะ เนี่ย (ว้าว เด็ก รุ่นนี้ ของแรงจริงๆ ปล่อยของกันตลอด)

    ตอบลบ
  3. 555+

    ของมันแรง

    อาทิตย์(หมี)

    ตอบลบ
  4. อ่านแนวคิด Waterfall

    ทำให้นึกถึง การออกมาของ Windows vista ที่ออกมาแบบไม่ทันตั้งตัว

    และตัวแก้ที่ออกมาคือ Windows 7 ซึ่งสามารถส่งความคิดเห็นสู่ผู้พัฒนาระบบได้

    น่าจะทำให้ได้ “ระบบที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด”ครับ

    เกรียงไกร(อาท) ^_^

    ตอบลบ