วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based learning หรือ PBL) by : sanom_WON


สวัสดีอาจารย์จงฯ และเพื่อน ๆ ทุกคนอีกเช่นเคยคับ

วันนี้ สนมวอนนำรูปแบบและวิธีของการเรียนรู้ที่สนมวอนชอบใช้อยู่บ่อยเอามาให้เพื่อน ๆ อ่านกัน

หายากมาก ๆ แต่พอเจอก็ได้ข้อมูล มาเสียเยอะแยะเลย ก็เลยพยายามจับใจความสำคัญมาให้ลองอ่านกันคับ ^_*





การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based learning หรือ PBL)


การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based learning หรือ PBL) เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากแนวคิดตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์นิยม (Constructivism) โดยให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่ จากการใช้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในโลก เป็นบริบท (context) ของการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการคิดวิเคราะห์และคิดแก้ปัญหา รวมทั้งได้ความรู้ตามศาสตร์ในสาขาวิชาที่ตนศึกษา ไปพร้อมกันด้วย การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานจึงเป็นผลมาจากกระบวนการทำงานที่ต้องอาศัยความเข้าใจและการแก้ไขปัญหาเป็นหลัก ซึ่งถ้ามองในแง่ของ ยุทธศาสตร์การสอน PBL เป็นเทคนิคการสอน ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เผชิญหน้ากับปัญหาด้วยตนเอง จะทำให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะในการคิดหลายรูปแบบ เช่น การคิดวิจารณญาณ คิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ
PBL มีการพัฒนาขึ้นครั้งแรกโดยคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Faculty of Health Sciences) ของมหาวิทยาลัย McMaster ที่ประเทศแคนาดา ได้ถูกนำมาใช้ในกระบวนการติว (tutorial process) ให้กับนักศึกษาแพทย์ฝึกหัด วิธีการดังกล่าว ต่อมาได้กลายเป็นรูปแบบ (model) ที่ทำให้มหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกานำไปเป็นแบบอย่าง ในการจัดการเรียนรู้ โดยเริ่มจากปลายปี ค.ศ. 1950 มหาวิทยาลัย Case Western Reserve ได้นำมาใช้เป็นแห่งแรก และได้จัดตั้ง ห้องทดลอง พหุวิทยาการ (Multidisplinary Laboratory) เพื่อทำเป็นห้องปฏิบัติการสำหรับทดลองรูปแบบการสอนใหม่ ๆ รูปแบบการสอนที่มหาวิทยาลัย Case Western Reserve พัฒนาขึ้นมานั้นได้กลายมาเป็นพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรของโรงเรียนหลายแห่งในสหรัฐอเมริกา ทั้งในระดับมัธยมศึกษา ระดับอุดมศึกษา และบัณฑิตวิทยาลัย ในช่วงปลายทศวรรษที่ 60 มหาวิทยาลัย McMaster ได้พัฒนาหลักสูตรแพทย์ (medical curriculum) ที่ใช้ PBL ในการสอนเป็นครั้งแรก ทำให้มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นที่ยอมรับและรู้จักกันทั่วโลกว่า เป็นผู้นำทางด้าน PBL (world class leader)

เทคนิคการสอนโดยใช้รูปแบบ PBL ได้เริ่มขยายออกไปสู่การสอนในสาขาอื่น ๆ เช่น วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาศาสตร์ สังคมศาสตร์ พฤติกรรมศาสตร์ เป็นต้น PBL จึงเป็นที่นิยมกันแพร่หลาย และมีการนำไปใช้สอนตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ มากขึ้น นอกจากมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาแล้ว มหาวิทยาลัยของประเทศแทบทุกส่วนของโลกก็ให้ความสนใจในการนำรูปแบบ PBL ไปใช้สอน เช่น มหาวิทยาลัย Maastricht ที่เนเธอร์แลนด์, มหาวิทยาลัย Newcastle, Monash, Melbourne ที่ออสเตรเลีย, มหาวิทยาลัย Aalborg ที่เดนมาร์ค , มหาวิทยาลัยในประเทศแคนาดา อังกฤษ ฝรั่งเศส ฟินแลนด์ อัฟริกาใต้ สวีเดน ฮ่องกง สิงคโปร์ เป็นต้น ความนิยม PBL ในการสอนที่ต่างประเทศนั้น สามารถเห็นได้ชัดเจนจากการเชื่อมโยงเครือข่ายการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่ใช้ PBL ในการสอนเหมือนกันทางอินเตอร์เน็ทและจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) โดยมีการเผยแพร่ทั้งตำรา เอกสาร และบทความจำนวนมาก มีผลงานวิจัยที่เผยแพร่เฉพาะส่วนบทคัดย่อและงานวิจัยทั้งฉบับเป็นร้อยเรื่อง โดยส่วนใหญ่จะเป็นผลการวิจัยทางสาขาแพทย์มากที่สุด มีวารสารเฉพาะชื่อ The Journal of Clinical Problem - based Learning มีการจัดตั้งศูนย์เพื่อการวิจัยและการเรียนการสอน (The Center for Problem-based Learning)
สำหรับในประเทศไทยนั้น การสอนโดยใช้รูปแบบ PBL ยังไม่แพร่หลาย แต่ก็มีมหาวิทยาลัยบางแห่งที่ส่งเสริมและได้ทดลองนำไปใช้บ้างแล้ว อย่างเช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เฉพาะมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่มีการพัฒนารูปแบบ PBL การสอนร่วมกับ ผู้สอนจากมหาวิทยาลัย Stanford และ Vanderbuilt
สำหรับวันนี้สนมวอนก็มีเรื่องมาบอกเท่านี้ก่อนนะคับ เรื่องที่นำมาอาจจะไม่ค่อยเกี่ยวกับเนื้อหาวิชานี้เท่าไหร่ แต่ว่าการเรียนรู้ ไม่ว่าจะในรูปแบบใด สำหรับสนมวอนแล้วรู้สึกว่ายังเป็นสิ่งที่สำคัญอยู่ ตลอดเวลาเลย ก็เลยอยากจะให้เพื่อน ได้ลอง ๆ อ่านดูกัน คราวหน้า สัญญาครับ ว่าจะไม่พา ออกทะเลอีก จะพยายามนำเรื่องที่เกี่ยวกับเนื้อหาวิชาของเรามาให้อ่านกันครับ คุคุ
sanom_WON ~ I am GooD_kNIGHT
สนมวอน ~ อัศวินผู้แสนดี
06172009
12:16 am
____________________
พัฏฐวร (วอน)

8 ความคิดเห็น:

  1. ถอนหายใจเบา ๆ ...

    มองบทความ แล้วก็คิดว่าคงต้องฝึกการจับใจความสำคัญอีกเยอะๆ 55+

    ฝาก ๆ 1 คำ "ปัญหา มีไว้แก้ ไม่ได้มีไว้กลุ้ม" นะคับ

    sanom_WON ~ I am GooD_kNIGHT
    สนมวอน ~ อัศวินผู้แสนดี
    06172009
    12:16 am
    ____________________
    พัฏฐวร (วอน)

    ตอบลบ
  2. อยากให้ประเทศไทยมีการเรียนการสอนแบบนี้ให้มากๆจังครับ เพราะมันน่าจะทำให้ประเทศพัฒนาเด็กไทยให้ก้าวไปในระดับโลกได้มากขึ้น

    ตอบลบ
  3. มีใครสังเกตได้ว่าการเีรียนของเรา เป็นแบบไหน

    อาจารย์จงดี

    ตอบลบ
  4. สนมวอนแอบเข้าใจว่า เป็นการเรียนแบบ เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง(ไชลด์ เซนเตอร์)รึเปล่าคับ แห่ะ ๆ

    คือเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมกับการเรียน ตลอดการเรียนการสอน

    sanom_WON ~ I am GooD_kNIGHT
    สนมวอน ~ อัศวินผู้แสนดี
    06222009
    10:18 pm
    ____________________
    พัฏฐวร (วอน)

    ตอบลบ
  5. ถ้ามีการเรียนรู้ในลักษณะนี้เกิดขึ้นมากกว่าการเรียนในรูปแบบเดิมๆก็คงจะนะครับ เพราะการหยิบยกปัญหา ที่เกิดขึ้นจริงมาใช้ในการเรียนการสอนทำให้เห็นภาพชัดเจน และมีความเข้าใจในเรื่องที่ทำการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้นด้วย ผมคิดว่านะครับ

    วรุตม์ (เน)

    ตอบลบ
  6. ควายเซ็นเตอร์

    555+

    ชอบๆ

    อาทิตย์(หมี)

    ตอบลบ
  7. เป็นเทคนิคการเรียนรู้ที่ดีมากๆเลย ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ และลองคิดแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง...

    จุฬา เกษตร เชียงใหม่ ก็ลองนำการสอนนี้ไปใช้บ้างแล้ว

    แล้วอย่างงี้ลาดกระบังจะยอมแพ้ได้ไงจิงไม๊ 55+

    ~>_____<~

    จิราพร(จูน)

    ตอบลบ
  8. ปัญหาเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเผชิญ!!!

    เป็นคำพูดที่น่าท้อแท้ใจ

    แต่ใครจะไปรู้ว่า ยิ่งมีปัญหามากเท่าไร

    ถ้าหากว่าเราไม่ย่อท้อต่อการแก้ปัญหา

    ยิ่งเกิดปัญญาเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ

    เหตุ ทำให้เกิด ผล >>> เป็นที่มาของ “ปัญหา”
    ผล มีที่มาจาก เหตุ >>> เป็นบ่อเกิดของ “ปัญญา”

    เกรียงไกร(อาท) ^_^

    ตอบลบ