วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การพัฒนาความคิดอย่างเป็นระบบ

สวัสดีค่ะ เรากลับมาพบกันสัปดาห์ที่สองกันแล้วน่ะค่ะ วันนี้มีบทความน่ารู้นำมาฝากเพื่อน Class SA ทุกท่าน

การพัฒนาความคิดอย่างเป็นระบบ

จากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน การรักษาสถานะขององค์กรให้อยู่รอดเป็นเรื่องที่สำคัญแต่เท่านั้นยังไม่เพียงพอ องค์กรจะต้องเจริญเติบโตและมีความก้าวหน้าอย่างมั่นคง จึงจะสะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จขององค์กร แล้วจะทำอย่างไรองค์กรจึงจะเจริญเติบโตอย่างมั่นคงทรัพยากรบุคคล ถือเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าขององค์กร ดังนั้น องค์กรควรให้ความสำคัญในการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพการเรียนรู้ เพราะบุคลากรที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาอย่างมีคุณภาพ จะเป็นต้นแบบที่ดีในการสร้างวิธีคิด และวิธีการทำงานอย่างมืออาชีพ การพัฒนาให้บุคลากรเกิดการเรียนรู้ร่วมกันเรื่อยๆ จึงเป็นวิธีที่จะทำให้องค์กรมีความแข็งแกร่ง มั่นคง และมีศักยภาพการแข่งขันที่เหนือคู่แข่ง

ปัจจัยสู่ความสำเร็จการพัฒนาองค์กรเรียนรู้
1. การพัฒนาภาวะผู้นำ (Leadership) ให้กับบุคลากรภายในองค์กรทุกระดับ ภาวะผู้นำไม่ได้มีเฉพาะบุคคลที่เป็นผู้บริหารผู้จัดการ หรือหัวหน้างานเท่านั้นแต่ภาวะผู้นำสามารถสร้างให้เกิดขึ้นกับพนักงานระดับปฏิบัติการ การพัฒนาภาวะผู้นำนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้และการพัฒนาการทำงานเป็นทีม
2. การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning) การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงานร่วมกันเป็นทีม จะช่วยพัฒนาศักยภาพและความรู้ความสามารถของบุคลากรให้เท่าเทียมและทันกัน
3. ความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ (System Thinking) คือ การที่บุคลากรภายในองค์กรสามารถเข้าใจภาพรวมขององค์กร และเห็นความสัมพันธ์ขององค์ประกอบย่อยต่างๆ ได้อย่างเป็นระบบ องค์กรต้องสร้างรูปแบบและแนวคิดการคิดอย่างเป็นระบบไว้ให้ทั่วทั้งองค์กรรวมทั้งกระตุ้นให้บุคลากรทุกระดับได้ตระหนักถึง
การเรียนรู้ส่วนตัว ประกอบด้วย รูปแบบจิตใจ การควบคุมตนเอง และการคิดเป็นระบบ สำหรับการเรียนรู้ของทีม เซ็งกี้ให้เพิ่มอีกสององค์ประกอบคือ วิสัยทัศน์ร่วม และการเรียนรู้เป็นทีม ไมเคิล มาร์ควอตท์ เสนอ ว่าองค์กรใฝ่เรียนรู้ประกอบด้วย
1. การเรียนรู้ในองค์กร เป็นการเรียนรู้ระดับบุคคล ระดับทีม ระดับองค์กร วินัย ทักษะ การเรียนรู้
2. เปลี่ยนรูปแปลงโฉมองค์กรให้เป็นเลิศในการเรียนรู้ โดยกำหนด วิสัยทัศน์ วัฒนธรรม ยุทธศาสตร์ โครงสร้างองค์กร
3. การมอบสิทธิอำนาจและทำให้คนสามารถเรียนรู้ คนที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ปฏิบัติงาน ผู้บริหาร ลูกค้า ผู้ส่งมอบ พันธมิตร และชุมชน
4. การจัดการความรู้ในองค์กร (Knowledge management) การได้ความรู้ การสร้างความรู้ การเก็บและเรียกความรู้ออกมา การถ่ายโอนและการใช้ความรู้
5. เทคโนโลยี เทคโนโลยีสารสนเทศ การเรียนรู้อิงเทคโนโลยี ระบบสนับสนุนการปฏิบัติงานด้วยเทคโนโลยี

การพัฒนาการคิด

กรอบความคิดของการคิด ตามแนวทฤษฎีการเรียนรู้กระบวนการคิด แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
กลุ่มที่ 1 ทักษะความคิด หรือทักษะการคิดพื้นฐาน ที่มีขั้นตอน การคิดไม่ซับซ้อน
กลุ่มที่ 2 ลักษณะการคิด หรือการคิดขั้นกลาง/ระดับกลาง เป็นการคิดที่มีลักษณะการคิดแต่ละลักษณะอาศัยการคิดขั้นพื้นฐานมากบ้างน้อยบ้าง
กลุ่มที่ 3 กระบวนการคิดหรือการคิดระดับสูง คือ มีขั้นตอนในการคิดซับซ้อนและต้องอาศัยทักษะความคิดและลักษณะความคิดเป็นพื้นฐานในการคิด กระบวนการคิดมีอยู่หลายกระบวนการ เช่น กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการตัดสินใจ

การพัฒนากระบวนการคิดต้องอาศัยตัวร่วมขณะคิด 4 ตัวร่วมดังนี้

ตัวร่วมที่ 1 กรอบโลกทัศน์/ชีวทัศน์ คือตัวร่วมสำคัญที่ผสมผสานในระหว่างที่เราคิด เราคิดอย่างไร จะสรุปความคิดของเราออกมาเช่นไร จะยึดกรอบเดิมหรือกรอบใหม่
ตัวร่วมที่ 2นิสัย คือ นิสัยมีผลเชื่อมโยงกับรูปแบบวิธีคิดของเราเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นตัวกำหนดการคิด และการแก้ปัญหาของเรา
ตัวร่วมที่ 3 อารมณ์ คือ เมื่อเราเกิดอารมณ์ใดก็ตามสมองของเรามักจะสร้างภาพในใจหรือเกิดจินตนาการถ่ายทอดอารมณ์นั้น
ตัวร่วมที่ 4 แรงจูงใจ คือ การที่เราตัดสินใจกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างเฉพาะเจาะจงเรามักจะกระตุ้นด้วยแรงขับภายใน ได้แก่ แรงขับความต้องการพื้นฐาน แรงขับความอยากรู้อยากเห็นกระบวนการแก้ปัญหา

ระบบและรูปแบบการคิด
มี 7 รูปแบบ คือ

1. Lateral Thinking
การคิดแบบแตกแขนง เป็นการคิดนอกกรอบ
เป็นความคิด นอกกรอบ หรือ บางทีบางคนใช้ทางด้าน จรรยาบรรณ ศีลธรรม หรือ ความจงรักภักดีในหน้าที่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องปลูกฝังให้พนักงานมีความคิดลักษณะนี้ เพื่อทำให้องค์กรแข็งแรง อย่างเช่น การทำให้พนักงานตระหนักถึง ความปลอดภัยของข้อมูล ความลับของบริษัทฯห้ามเปิดเผย การสร้าง Royalty กับบริษัทฯ การสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างพนักงาน และ หัวหน้างาน ทำให้พนักงานตัดสินใจยากในการออกจากบริษัทฯ เรา
2. Vertical Thinking
เป็นความคิดในแนวตรง เกิดขึ้นโดยตรงจากข่าวสารที่เป็นทางการและใช้ในการหาคำตอบที่น่าสนใจ ซึ่งนักบริหารควรที่จะเป็นนักคิดในแนวทางนี้ให้มาก
3. Logical Thinking
การคิดอย่างมีตรรกะ เป็นพื้นฐานแห่งแนวคิด การปฏิบัติ ที่เน้นความเป็นเหตุเป็นผลอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการสนทนากันอย่างมีเหตุผล มีการวางแผนที่เป็นขั้นตอน มีการลำดับเรื่องราว สามารถมองจากมุมมองของภาวะวิสัยหรือจากภาพรวม
4. Creative Thinking
การคิดสร้าง สรรค์ในเชิงบวก
เป็นความคิดประยุกต์ จากประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถ รวมทั้ง การปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่ให้มีคุณค่ามากยิ่งขึ้น มีประโยชน์มากขึ้น อย่างเช่น คิดถึงผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อสามารถขายให้กับลูกค้าได้ คิดถึงการสร้างงานในแขนงใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ลูกค้ามีข้อมูลในการใช้งานมากยิ่งขึ้น อาจจะคิดถึงการรายงานในรูปแบบใหม่ เพื่อให้ข้อมูลกับหัวหน้างานได้ดีขึ้น เป็นต้น
5. Critical Thinking
เป็นกระบวนการทางจิตสำนึกเพื่อวิเคราะห์
6. Positive Thinking
การมองสิ่งต่างๆอย่างเข้าใจ ยอมรับได้ในด้านลบ มองปัญหา ความทุกข์ ความไม่ราบรื่นเป็นเรื่องธรรมดา หากรู้จักเลือกใช้ประโยชน์จากด้านบวกที่แฝงอยู่จากสิ่งนั้นๆ ได้ เหตุการณ์บางอย่าง เราไม่สามารถเลือกได้ว่าจะให้เกิดหรือไม่ให้เกิด แต่เมื่อเกิดขึ้นไปแล้ว เราเลือกได้ว่าจะมองและรู้สึกกับมันอย่างไร เป็นความคิดในแง่ดี มองในแง่มุมของความเป็นไปได้ ให้กำลังใจกับตนเอง และ ผู้อื่น ซึ่งเป็นความคิดพื้นฐานของความคิดที่ดีๆทั้งหมด เช่น คิดว่าจะทำอย่างไรให้แผนกทำงานได้ปริมาณ และ คุณภาพ มากที่สุดในเวลา เท่าเดิม หรือ คิดว่า เราจะทำอย่างไรดีที่จะทำให้งานที่บริการลูกค้าแล้ว ลูกค้าพึงพอใจอย่างมาก จากการบริการของเรา เป็นต้น
7. Ethical Thinking
ความคิดในเชิงจริยธรรม คุณธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้

เทคนิคการคิดอย่างเป็นระบบ

การคิดอย่างเป็นระบบ เป็นการมองแบบองค์รวมเป็นความสามารถในการเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบ นอกจากมองภาพรวมแล้วต้องมองรายละเอียดของส่วนประกอบย่อยในภาพนั้นให้ออกด้วย การคิดอย่างเป็นระบบ ก็คือ การคิดให้ครบองค์ประกอบของระบบให้ครบทุก 4 ด้าน ได้แก่
1. คิดให้ลึกเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking)
2. คิดให้กว้างอย่างสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
3. คิดให้ครบจนจบเรื่อง (Integrated Thinking)
4. คิดในภาพรวมทั้งระบบ (System Thinking)

เทคนิคการจำอย่างเป็นระบบยิ่งเป็นเรื่องง่ายด้วยการใช้แผนภูมิ

1. Brain Mapper Diagram
2. Tree Diagram
3. Fish Bone Diagram
4. Mind Mapping Diagram
องค์กรจะเจริญเติบโตและมีความก้าวหน้าอย่างมั่นคงได้นั้น คือ การเลือกที่จะแสวงหาและนำความรู้เข้ามาสู่องค์กร การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพการเรียนรู้ และสามารถทำงานเป็นทีมได้ก็จะทำให้เกิดคุณภาพของผลตามมา อีกทั้งยังได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามมาด้วย
.........................................................................................................................
ที่มา
OOTime AloneOO
กนกวรรณ (นิว)

5 ความคิดเห็น:

  1. เราจะมาลองที่จะ ดำเนินการในการฝึกการคิดและการจำอย่างเป็นระบบบ้างไหมคะ คราวหน้าที่เราจะเจอกัน รับรองได้ลองฝึกแน่แน่

    ตอบลบ
  2. ฟังดูเหมือนเป็นการขู่

    อาทิตย์(หมี)

    ตอบลบ
  3. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  4. ดีค่ะ เพราะถ้าเรายิ่งฝึกใช้สมองคิดแบบเป็นระบบเท่าไหร่
    จะทำให้สมองไม่หยุดนิ่ง (แต่) แอบกลัวจังเลย อิอิ
    กนกวรรณ (นิว)

    ตอบลบ
  5. เป็นบทความที่ตรงประเด็นจริงๆ

    ฝึกคิด ฝึกแก้ปัญหา อย่างในบทความ

    เราก็จะคิดเป็นระบบมากขึ้นเรื่อยๆ

    และสิ่งที่สำคัญคือการคิดแบบ Ethical Thinking ในบทความนั้น

    ก็จะทำให้เราอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

    เกรียงไกร(อาท) ^_^

    ตอบลบ