วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2552

~ หุ่นยนต์ ASIMO ~ "มีความรู้สึกนึกคิด" เหมือนมนุษย์หรือไม่...?


.......หมอทางด้านประสาทวิทยาได้ให้คำแนะนำว่า การพูดคุยเรื่องเก่าจะช่วยกระตุ้นอย่างดีสำหรับสมองมนุษย์ในการ ดึงข้อมูลรายละเอียดในอดีตออกมาได้ คำเปรียบเปรยที่ว่าคนเราเมื่อเริ่มมีอายุจะมีลักษณะ "ชอบของขม-ชมของเก่า-เล่าความหลัง" สองอย่างท้ายอาจเป็นไปเพื่อเตือนให้มีความจำดีขึ้นก็ได้

.......สมองมนุษย์สามารถจดจำข้อมูลได้ค่อนข้างมากและมีการจัดเก็บไว้บางส่วนที่ "เด่น" ไว้สำหรับให้นึกถึงในเวลา เมื่อถูกกระตุ้นเตือนถึงเรื่องเหล่านี้ เราจึงสามารถเข้าถึงข้อมูลในเชิงลึกที่ละเอียดยิ่งขึ้นได้อย่างไม่จำกัด ทั้งนี้ ยังไม่รวมถึงเรื่องต่อเนื่องที่ "จิตสังขาร" ปรุงแต่งขึ้นมาอีกไม่รวมถึงเรื่องต่อเนื่องที่ "จิตสังขาร" ปรุงแต่งขึ้นมาอีก




.......แม้ว่าสมองมนุษย์ได้คิดค้นวิทยาการทันสมัยขึ้นมามากมายอย่างทวีคูณ แต่ยังไม่มีวิทยาการใดของโลกปัจจุบันช่วยให้เราเข้าใจการทำงานของสมองมนุษย์ได้อย่างลึกซึ้งเลย

........เมื่อมนุษย์สร้างหุ่นยนต์ขึ้นมาในปี ค.ศ. 1960 นั้น ได้แต่เพียงตั้งใจให้หุ่นยนต์เหล่านั้นทำงานได้อย่างอัตโนมัติเพื่อช่วยเราทำงานในสิ่งแวดล้อมที่อันตราย มีฝุ่นและสารอันตรายรวมถึงสารกัมมันตภาพรังสี




.......หลังจากมีการคิดค้นคอมพิวเตอร์ขึ้นมา หุ่นยนต์จึงสามารถทำงานได้ละเอียดขึ้นถึงหนึ่งในพันของนิ้ว นอกจากนี้ สมองหุ่นยนต์ที่มีคอมพิวเตอร์เป็นแกนหลักนั้น สามารถประมวลผลได้อย่างรวดเร็วด้วยอัตราเร่งถึงสี่เท่าของอัตราเร่งแรงโน้มถ่วงโลก(g) ด้วยเหตุที่หุ่นยนต์ "เร็วและละเอียด" นี่เองจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่เพิ่มผลิตภาพทางอุตสาหกรรม


...........นอกจากนี้ วิวัฒนาการด้านปัญญาประดิษฐ์ เช่น โครงข่ายประสาท อัลกอธึมแบบพันธุศาสตร์ ได้ช่วยให้หุ่นยนต์สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่คลุมเครือในการตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง ตลอดจนการหาคำตอบในปัญหาที่ไม่มีสมการฟิสิกส์มาช่วยคำนวณได้


..........หุ่นยนต์รุ่นนี้จึงมีระดับความฉลาดสูงขึ้นจากแต่เดิมมาก ซึ่งถือว่าจำเป็นอย่างยิ่งหากเราต้องการให้หุ่นยนต์สามารถทำงานได้ด้วยตัวเองในสิ่งแวดล้อมที่ไม่รู้ล่วงหน้ามาก่อน





........สมองหุ่นยนต์ทำงานซับซ้อนขึ้นในสามระดับ : สัญญาณควบคุมมอเตอร์, การประมวลผลทางตัวอักษรและสัญลักษณ์ จนถึงขั้นการเข้าใจภาษาพูดอย่างมีจังหวะ ในแต่ละระดับจะมีการสื่อสารสัมพันธ์กันจนมีข้อมูลเพียงพอในสร้างกลยุทธ์เพื่อการตัดสินใจได้สอดคล้องกับสถานการณ์เบื้องหน้า



.......นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่าสมองของเรา ประกอบด้วยเส้นใยสมองที่เรียกว่า "นิวโรน" มากมายและมีกระแสไฟฟ้าน้อยๆที่วิ่งไปมาระหว่างระหว่างประจุบวกและลบบนนิวโรนเหล่านี้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับขบวนความคิดและความรู้สึกตัวของเรา


.........ปัจจุบันยังไม่มีผู้ใดรู้จริงถึงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณและคุณภาพของข้อมูลต่อปริมาณกระแสไฟฟ้าเหล่านี้


.......แต่สำหรับบุคคลที่มีสมาธิดีนั้นจักสามารถจัดกระบวนการคิดได้เป็นเรื่องเป็นราว จนผลรวมของกระแสไฟฟ้าดังกล่าวจะมีความชัดเจนส่งผลให้สนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นมีความเข้มขึ้นตามกันไป ดังนั้นการใช้ประโยชน์จากคลื่นสมองจึงต้องมีการฝึกให้ผู้ใช้งานรู้จักขบวนการสร้างกิจกรรมจากความนึกคิดของตน มีผู้รู้หลายท่านเชื่อว่าคลื่นสมองเหล่านี้นี้แหละที่ทำให้มนุษย์เราเกิด ความรู้สึกตัว (Consciousness) นั่นเอง


.......ในโลกของปัญญาประดิษฐ์ กลไกการตีความ (Cognition) เช่น นิวโรฟัสซี่ (Neuro-Fuzzy) ทำงานโดยอาศัยบิทค่าศุนย์และหนึ่งของข้อมูล ผลลัพท์การตีความก็เกิดจากผลรวม ของค่าเหล่านี้ในแต่ละโหนด ที่ผ่านมาเราใช้ผลลัพท์เหล่านี้มาควบคุมมอเตอร์หรือตัวขับเคลื่อนอื่นๆ เราก็สามารถใช้กลไกนี้ทำให้หุ่นยนต์รู้สึกตัวได้เช่นกัน เพียงแต่ว่า ชุดข้อมูล (Input Arrays) นั้นต่างกัน เมื่อหุ่นยนต์รู้สึกตัวได้แล้วจึงจะพัฒนาไปถึง ความรู้สึก(Feeling) และอารมณ์(Emotion)ได้

..........อย่างไรก็ตามเรื่องคิดนั้นสมองคนเราคิดได้ที่ละเรื่อง แต่บางท่านสามารถสลับความคิดไป-มาได้รวดเร็วมาก เป็นไปในลักษณะ “ฟุ้งซ่าน”จนสร้างทุกข์จากความคิดของตนนั่นแหละครับ หาก DNA เป็นกรรมเก่าที่มากำหนด Consciousness ของมนุษย์ Coding ต่างๆที่เรากำลังใส่เข้าไปเพื่อทำให้หุ่นยนต์มีความรู้สึกตัวขึ้นมาได้เองควรมีพื้นฐานที่ดี

............ที่ผมห่วงมากก็คือ กรรมเลวของมนุษย์ผู้สร้างหุ่นยนต์จะถูก code เข้าไปในสมองหุ่นยนต์โดยขาดการยั้งคิดถึงผลลัพท์ที่จะเกิดขึ้น

จาก : ดร. ชิต เหล่าวัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี
ผู้ก่อตั้งสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม ฟีโบ้ (FIBO)
http://fibo.kmutt.ac.th/fiboweb07/thai/index.php?id=500&option=com_content&task=view

-----------------------------------------------------------------

ปล. เนื้อหาอาจจะมากไปหน่อย แต่ก็พยายามเรียบเรียงให้ดีที่สุด หวังว่าจะได้ความรู้ ความคิด ใหม่ๆ มาแลกเปลี่ยนกันกับทุกคนนะ ^_^_^_^

เกรียงไกร(อาท)


7 ความคิดเห็น:

  1. สนมวอนอ่านเรื่อง หุ่นยนต์ ของป๋าเกรียนแล้ว นึกถึงตอนที่เรียน วิชา

    สหวิทยาการฯ ที่อาจารย์เอาหนังมาให้ดู "แอนดรู" อ่าคับ จำได้ป่ะ

    แล้วก็คิดถึงว่า วันหนึ่ง หุ่นยนต์ จะมีความรู้สึกนึกคิด รู้จักศีลธรรม และ ผิดชอบชั่วดีเหมือนกับมนุษย์หรือเปล่า?

    แล้วถ้าเป็นอย่างนั้นมนุษย์กับหุ่นยนต์จะใช้ชีวิตร่วมกันได้หรือไม่?

    ขอบคุณป๋าเกรียนนะคับที่เอาความรู้ดี ๆ มาลงให้เสพ ๆ กันแต่สนมวอนไม่รู้อ่ะ ว่าคลิปที่เอามาลงคือคลิปอะไร เพราะเน็ต เน่า ๆ ของสนมวอน มันไม่ อำนวยเอาซะเลย คุคุ

    อวยพรให้มีความสุขกะช่วงเวลาของสหกืจศึกษาครับ...อย่าลืมว่า "โครงงาน" ของวิชา สหกิจศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อ ฝึกฝนทักษะ "การสื่อสาร" ของนักศึกษา นะคับ +_^ สู้ ๆ คับ...ผู้ร่วมชะตากรรม


    sanom_WON ~ I am GooD_kNIGHT
    สนมวอน ~ อัศวินผู้แสนดี
    06202009
    09:28 am
    ____________________
    พัฏฐวร (วอน)

    ตอบลบ
  2. อืมมม ดีใจจัง ที่ได้มีนักศึกษาที่ไฝ่รู้แบบนี้ "โครงงานของสหศึกษา" ลองปรึกษาอาจารย์จงดีดูได้นะจ้ะ .... การสื่อสารเนี่ย และการศึกษาเนี่ย ถนัด นักแล ...

    ดูคลิปแล้วให้นึกถึงว่า การเล่นดนตรีโดยมีผู้ควบคุมวง (conductor) ที่เป็นหุ่นยนต์ก็เป็นเพลงที่เพราะเหมือนกัน ... แต่ครู อยากเห็นคนควบคุมคอมพิิวเตอร์ที่มีอยู่มากมายให้เกิดประโยชน์มากที่สุดต่างหากนะจ้ะ

    ตอบลบ
  3. อืม ถ้ามนุษย์กับหุ่นยนต์ สามารถที่จะอยู่ร่วมกันได้ คงแปลกพิลึก แต่เราว่าหุ่นยนต์ยังคงคิดเองไม่ได้หรอก ต้องขึ้นอยู่กับว่าคนที่สร้างป้อนข้อมูลยังไง

    ถ้ามันคิดเองได้ มนุษย์เราต้องตกงานแน่ๆ เลย

    วรรณวิษา ( น้ำ )

    ตอบลบ
  4. เคยดูภาพยนต์เกี่ยวกับหุ่นยนต์มาหลายเรื่อง ไม่มีตัวไหนน่ารักเท่า ASIMO เลย (แต่ WALL-E สูสีกับ ASIMO เหมือนกันนะคะ)

    ตอบลบ
  5. หุ่นยนต์จะเก่งได้ก็ต้องถูกสร้างมาจากคนที่เก่งด้วย

    มันจะเก่งเกินไปละ

    ตอบลบ
  6. เข้ามาหลายครั้ง ดูแล้วชอบมากมาก
    แต่ไม่รู้จะเม้นท์อะไรดี
    แต่หุ่นยนต์มันเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์ทำขึ้นมาเพื่อให้ตอบสนองการทำงานในหลายๆด้าน
    แต่หากไม่มีมนุษย์ หุ่นยนต์ก็ไม่เกิดขึ้นจริงไหมค่ะ ?

    ตอบลบ