วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ระบบบริหารงานโรงพยาบาล: Hospital Operating System

หลังจากที่เพื่อนๆทุกคนได้เสนอทฤษฎีแนวความคิดเกี่ยวกับการวิเคราะห์และออกแบบระบบในรูปแบบต่างๆมากมายไปแล้ว ผมขอเสนอระบบที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมในการช่วยเหลือแพทย์ในการรักษาผู้ป่วย คนไข้ต่างๆในท้องถิ่นทุรกันดาร สถานีอนามัย ตามจังหวัดต่างๆ ซึ่งยังไม่มีเทคโนโลยีต่างๆเข้าถึง โดยระบบบริหารงานโรงพยาบาลนี้จะช่วยแพทย์ในการเก็บข้อมูลของคนไข้ ทั้งผู้ป่วยใน และผู้ป่วยนอก ในการมารักษาโรคต่างๆ และยังใช้อ้างอิงประกอบการวินิจฉัยโรคในครั้งต่อไป ซึ่งมีลักษณะหน้าที่การทำงานมากมาย เราไปดูกันเลยดีกว่าว่าระบบนี้มีอะไรน่าสนใจบ้าง

ระบบบริหารงานโรงพยาบาล : Hospital OS
Hospital OS คือ โปรแกรมที่ใช้ในการบริหารโรงพยาบาล รองรับการทำงานทั้งในส่วนของ ผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในโดยการสนับสนุนจาก ชมรมข้อมูลข่าวสารทางการแพทย์และสาธารณสุขไทย มูลนิธิสาธารสุขแห่งชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย หรือ
สกว.บนหลักการ Open Source GNU General Public License ซึ่งจะเป็นสมบัติสาธารณะ ที่ทุกคน สามารถนำไปใช้ได้ นอกจากนี้โปรแกรมยังสามารถใช้งานได้กับทุกระบบปฏิบัติการบนพื้นฐาน จาวา และซอฟแวร์ที่เป็นโอเพนซอร์สอื่น
แนวคิดของ Hospital OS คือ "การสร้างและพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน"โดยความร่วมมือและช่วยเหลือกัน จากทีมงานสู่สมาชิกและจากสมาชิกสู่สมาชิกด้วยกันเองจนกลายเป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็งสามารถอยู่ได้ด้วยตัวเองระบบนี้พัฒนาขึ้นโดเทคโนโลยี
ไคล์แอ้น-เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งเหมาะสำหรับโรงพยาบาลชุมชุนขนาดเล็ก รองรับการทำงานในส่วนของ ผู้ป่วยใน และ ผู้ป่วยนอก ปัจจุบันมีโรงพยาบาลสมาชิก มากกว่า เก้าสิบแห่ง ทั่วประเทศ ใช้งาน และด้วยการเติบโตของโรงพยาบาลชุมชนบางแห่งได้ขยายไปเป็นโรงพยาบาลศูนย์ หรือโรงพยาบาลจังหวัด ดังนั้น นายแพทย์ก้องเกียรติ เกษเพ็ชร์ จึงคิดค้นพัฒนาตัวโปรแกรม ขึ้นมาอีกตัวหนึ่ง ชื่อว่า IMed โดยเน้นประสิทธิภาพที่จะรองรับการทำงานสำหรับโรงพยาบาลขนาดใหญ่ นำโดยทีมงานชุดเดิมที่สร้าง Hospital OS โดยใช้เทคโนโลยี ที่เรียกว่า เว็บซ์เบสสามารถรองรับการทำงาน ที่มีผู้ใช้งานหลากหลายของโรงพยาบาลได้เป็นอย่างดี
ความสามารถของ Hospital-OS

ทันตกรรม (Dental)
- สามารถตรวจสอบประวัติ การรักษาฟันของผู้ป่วย ที่เคยมารับบริการในภาพรวมได้
- สามารถลงข้อมูลการตรวจรักษาและรหัส ICD-10 ได้อย่างเหมาะสม
- สามารถสั่งรายการตรวจรักษา ให้เหมือนเดิมอีกครั้ง

การแสดงภาพ (Image)
- สามารถถ่ายภาพผู้ป่วยรวมทั้งการใช้บัตรประชาชน กับเครื่องอ่านบัตร เพื่อความสะดวกของการใช้งาน ในการเรียกดูข้อมูลผู้ป่วยและ สามารถเลือกปรับเปลี่ยน Theme ได้ ตามความต้องการ
- Module Image Frame เก็บภาพถ่ายเช่น กลุ่ม x-ray หรือ กลุ่ม ภาพ การตรวจรักษาต่าง ๆ หรือ ภาพสแกน opd card ไว้ เรียกดู ได้
- Module Image สามารถเก็บรูปของผู้ป่วย และเรียกรูปของผู้ป่วยขึ้นมาดูได้


คลังสินค้า (Stock)
- สามารถจัดการข้อมูลยา/เวชภัณฑ์ ทั้งยังช่วยในการใช้/จัดซื้อ ให้เหมาะสมในแต่ละวัน
- สามารถจัดการรายการยาและเวชภัณฑ์ ปรับยอดยา การซื้อและรับเข้าจากการซื้อ การเบิกและรับเข้าจากการเบิก การรับเข้าอื่นๆ
- สามารถออกรายงาน
- รายงานการจ่ายออกยาและเวชภัณฑ์
- รายงานการรับยาและเวชภัณฑ์ เข้าคลัง
- รายงานยาและเวชภัณฑ์ใกล้หมดอายุ
- รายงานสรุปมูลค่าและจำนวนยา/เวชภัณฑ์คงคลัง
- รายงานรายการยาและเวชภัณฑ์ไม่เคลื่อนไหว
- รายงานการปรับยอดยาและเวชภัณฑ์
- รายงานบันทึกรายละเอียดการสั่งซื้อยาและเวชภัณฑ์ แสดงการเปลี่ยนแปลงราคาทุน
- งานประวัติการสั่งซื้อยาและเวชภัณฑ์
- รายงานรับเข้า/จ่ายออก/ปรับยอด/คงเหลือยาและเวชภัณฑ์ รวมทั้งสิ้น 9 รายงาน
ความสามารถอื่น ๆ

สามารถเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างสถานพยาบาล
โรงพยาบาลสามารถดูประวัติข้อมูลคนไข้ ตามสถานีอนามัยได้ ซึ่งการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างสถานพยาบาลนี้ ยังช่วยโรงพยาบาลในด้านต่าง ๆ ดังนี้
- สามารถนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์เชิงบริหาร เพื่อส่งเสริมและป้องกันโรคต่าง ๆ ได้ดีขึ้น
- โรงพยาบาลสามารถทราบข้อมูลการให้บริการคนไข้ ของสถานีอนามัยนั้น ๆ เช่น คนไข้ได้รับวัคซีนอะไรไปแล้วบ้าง มีประวัติฝากครรภ์อย่างไรบ้างก่อนที่จะคลอด ที่โรงพยาบาล
- แพทย์สามารถทราบประวัติการรักษาคนไข้ ที่ไปรับบริการ ที่สถานีอนามัย เช่น ข้อมูลการตรวจรักษา การวินิจฉัcยโรค
- สามารถส่งต่อข้อมูลการรักษาของผู้ป่วยรหว่าง สถานพยาบาล และ สถานีอนามัยได้

สามารถบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับ PCU ได้ โดยไม่ต้องเข้ารับบริการ
สามารถบันทึกสิทธิประจำตัวผู้ป่วย ลงข้อมูลการสำรวจประชากร การฉีดวัคซีน การฝากครรภ์ การดูแลแม่และเด็กหลังคลอด การเยี่ยมบ้าน จากการสำรวจในชุมชน โดยไม่ต้องนำคนไข้เข้าสู่กระบวนการ ทำให้เจ้าหน้าที่ทราบข้อมูลประวัติของคนในหมู่บ้าน แม้เจ้าของข้อมูลนั้นจะไม่เคยมารับบริการ ที่สถานีอนามัยเลยก็ตาม ทั้งนี้ทำให้สามารถรักษา และวางแผนเชิงป้องกันโรคได้สะดวกขึ้น
สามารถออกรายงานมาตรฐานจากความต้องการ ของกระทรวงต่าง ๆ ได้
สามารถออกรายงานที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นรายงาน 12 แฟ้ม 18 แฟ้ม และรายงาน 11 รง 5 ทั้ง 4 ส่วน
จากระบบข้างต้นทำให้เราสามารถรู้และเข้าใจในลักษณะของ ระบบบริหารงานโรงพยาบาล ว่ามีลักษณะหน้าที่การทำงานใดบ้าง หากระบบนี้มีการใช้กันมากยิ่งขึ้น ในตามต่างจังหวัด สถานีอนามัยต่างๆ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อแพทย์ที่ประจำอยู่ตามสถานที่ต่างๆ และยังสามารถช่วยในการเก็บข้อมูลผู้ป่วยในการรักษา ได้ทันถ่วงทีอีกด้วย โรงพยาบาลในเมืองนั้นมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่ช่วยในการรักษามากมาย แต่คนในต่างจังหวัดนั้นไม่มีเทคฯที่ทันสมัยรองรับ ดังนั้นถ้ามีระบบนี้ไปใช้ตามสถานีอนามัย หรือโรงพยาบาลในท้องถิ่นทุรกันดารต่างๆ ก็จะสามารถช่วยรักษาชีวิต
ของผู้ป่วยให้สุขภาพ ร่างกายแข็งแรงต่อไป
"อโรคา ปรมาลาภา" การไม่มีโรคเป็นลาภ อันประเสิรฐ GOD BLESS
แหล่งที่มา : http://www.hospital-os.com/th/index.php
วรุตม์(เน)































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































7 ความคิดเห็น:

  1. ไมมันเว้นเยอะจัง -_-

    วรุตม์(เน)

    ตอบลบ
  2. เน เล่นอะไรอ่ะคับ

    เกือบหาช่องคอมเมนท์ไม่เจอ

    เดี๊ยวนี้โรงพยาบาล เค้าพัฒนาไปไกลกว่าโรงเรียนมัธยมบางแห่งเป็นอย่างมาก

    โปรแกรมประเภทที่ เน เอามาให้ดู ส่วนตัวของสนมวอนได้เคยได้ใช้มาบ้างแล้วจากการไปทำงานพิเศษช่วงปิดเทอมมา ก็ยังรู้สึกว่ายังไม่ค่อย user friendly (พิมพ์เป็นไทยไม่ถูกอ่า +_+) เท่าไหร่เพราะคาดว่าผู้พัฒนาโปรแกรมอาจจะเป้นโปรแกรมเมอร์ที่เก่งกาจ แต่ยังขาดทักษะ การบริหาร/จัดการ ไปบ้าง

    ถ้าส่งเพื่อน ๆ สาขาเราไปสร้างโปรแกรมแนวนี้ สนมวอนว่าอาจจะรุ่ง สู้ ๆ ๆๆ

    sanom_WON ~ I am GooD_kNIGHT
    สนมวอน ~ อัศวินผู้แสนดี
    06202009
    09:49 am
    ____________________
    พัฏฐวร (วอน)

    ตอบลบ
  3. เพิ่งรู้นะเนี่ยว่าโรงพยาบาลเค้าก็มีโปรแกรมที่ใช้จัดการแบบนี้ด้วย เป็นความรู้ใหม่ๆๆ

    วรรณวิษา ( น้ำ )

    ตอบลบ
  4. ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล น่ะ มีกันมานานมากกกกกก แล้ว ... ศาสตร์อีกสาขาหนึ่งที่เค้าเรียกกันคือ Medical Informatics ก็มีมาประมาณ 30 ปี เห็นจะได้ แต่ว่าอย่างที่ครูเคยพูด ... ไม่้มีสิ่งไหนที่ดีที่สุด (ยกเว้นเป็บซี่)เพราะฉะนั้นเราต้องมีการวิเคราะห์และออกแบบระบบอย่างต่อเนื่อง ... เพื่อให้ได้ระบบที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด

    ตอบลบ
  5. ความรู้ใหม่ๆ
    ขอบคุนคุนเนมากนะค่ะ
    เป็นอะไรที่ต้องเก้บไว้ในสมองแล้วล่ะสิ
    ระบบการทำงานที่ได้รับการพัฒนานี้
    ทำให้คนที่ป่วยหนักไดัรับการรักษาได้ทันเวลาแล้วสินะ

    วิภารัตน์ (แหม่ม)

    ตอบลบ
  6. ผม รู้จักระบบที่เกี่ยวกับโรงพยาบาลอยู่ระบบหนึ่ง
    คือ ระบบQ#(ชื่อของบริษัทที่เค้าทำขึ้นมา) เป็นระบบของบริษัทที่ไปฝึกงาน มันจะเกี่ยวกับระบบยืนยันตัวผู้ป่วย เรียกบัตรคิวของผู้ป่วย
    สามารถคำนวณเวลารอเรียกได้ สามารถเปี่ยน หรือ ยกเลิกคิว
    และอื่นๆอีก เป็นระบบที่น่าสนใจระบบหนึ่งที่ผมรุจักครับ

    พงศธร(พง)

    ตอบลบ
  7. Medical Informatics

    ศัพท์ใหม่

    เพิ่งได้ยินเป็นครั้งแรก

    ตื่นเต้น

    จะว่าไปทำงานในโรงพยาบาลก็ดีเหมือนกันนะ

    หมอหน้าตาดี น่ารัก

    อิอิ

    ตอบลบ