วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2552

บทบาทของนักวิเคราะห์ระบบ

นักวิเคราะห์ระบบจะเป็นผู้ที่ศึกษาถึงปัญหาและความต้องการของนักธุรกิจ โดยนำเอาปัจจัย 3 ประการ คือ คน ( people ) วิธีการ ( method ) และคอมพิวเตอร์เทคโนโลยี ( computer technology ) ใช้ในการปรับปรุงหรือแก้ปัญหาให้กับนักธุรกิจ

เมื่อได้มีการนำเอาพัฒนาการทางเทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์มาใช้ นักวิเคราะห์ระบบจะต้องรับผิดชอบถึงการกำหนดลักษณะของข้อมูล ( data ) ที่จะจัดเก็บเข้าสู่ระบบงานคอมพิวเตอร์ การหมุนเวียน การเปลี่ยนแปลงของข้อมูลและระยะเวลาเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ใช้หรือธุรกิจ ( business users )
นักวิเคราะห์ระบบไม่ได้เพียงวิเคราะห์หรือดีไซน์ระบบงานเท่านั้น หากแต่ยังขายบริการทางด้านระบบงานข้อมูล โดยนำเอาประโยชน์จากเทคโนโลยีล่าสุดมาใช้ควบคู่กันไปด้วย

จากบทบาทของนักวิเคราะห์ระบบที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ทำให้นักวิเคราะห์ระบบจะต้องมีความรู้ทั้งทางภาคธุรกิจหรือการดำเนินงานในหน่วยงานต่างๆ และคอมพิวเตอร์ควบคู่กัน นักวิเคราะห์ระบบโดยส่วนใหญ่สามารถที่จะดีไซน์ระบบงานและเขียนโปรแกรมขึ้นได้ด้วยตัวเอง ส่วนนี้เองกลับทำให้บุคคลภายนอกเกิดความสับสนระหว่างโปรแกรมเมอร์กับนักวิเคราะห์ระบบ

4 ความคิดเห็น:

  1. เอ่ ตอนนี้คุณอาจจะแยกระหว่างโปรแกรมเมอร์ กับ นักวิเคราะห์ระบบได้แร้วซินะ

    แต่ก่อนหน้านี้ไมคุณ แยก SA กะ IN LOVE ไม่ออกละคร่ะ

    Ps. จาก ไม่ เคย มี ใคร เป็น คน พิ เศษ และ ไม่ เคย เป็น คน พิ เศษ ของ ใคร อะกิ๊วววๆๆ

    ตอบลบ
  2. ท่าทาง การโพสต์ เรื่องนี้และคนโพสต์ จะต้องตกหลุมรัก SA หรือ Programmer แน่แน่เลย .... ลองคิดดูนะคะ ว่า บทบาทของนักวิเคราะห์ระบบจะเปลี่ยนไปไหม หากไม่ได้นำคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีเข้ามาใช้...
    คำถามคือ หากนักวิเคราะห์ระบบไม่ใช้คอมพิวเตอร์เทคโนโลยีจะยังคงเป็นนักวิเคราะห์ระบบหรือไม่ และบทบาทหน้าที่จะแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร

    ตอบลบ
  3. ทำได้สิครับ

    ก็อย่างเช่นนักเศรษฐศาสตร์ทั้งหลาย

    หรือสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)

    เขาก็ต้องออกแบบระบบเศรษฐกิจที่เหมาะสมกับประเทศไทยในด้านต่างๆ

    โดยอาศัยตัวเลขทางเศรษฐกิจ ปัจจัยแวดล้อมทั้งจากภายในและภายนอกประทศ รวมทั้งสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้อง

    ไม่เห็นจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์เลย

    อาจจะใช้นิดหน่อยในการหาข้อมูล

    ไม่รู้ว่าจะเกี่ยวกันรึป่าว

    ลองพิจารณาดูละกัน

    ซีเรียสไปมั้ยเนี่ย

    เหอๆๆ

    ตอบลบ
  4. แสดงว่า สาขาที่เราเรียนอยู่ ก็มาถูกทางแล้วซิ

    แต่ที่อาจารย์จง ให้ลองคิดดูว่า
    "หากนักวิเคราะห์ระบบไม่ใช้คอมพิวเตอร์เทคโนโลยี
    จะยังคงเป็นนักวิเคราะห์ระบบหรือไม่
    และบทบาทหน้าที่จะแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร..."

    อันนี้น่าสนใจครับ

    ยังเป็นนักวิเคราะห์ระบบอยู่ครับ เพราะว่า ทั้งสองแบบนี้ ยังต้องคำนึงถึง การวิเคราะห์และออกแบบ สิ่งที่เป็น "ระบบ" เหมือนกัน แต่อาจมีเครื่องมือที่แตกต่างกัน

    บทบาทหน้าที่จะแตกต่างกันออกไป เพราะว่า นักวิเคราะห์ระบบที่ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เทคโนโลยี จะวิเคราะห์และออกแบบขั้นตอนอย่างเป็นระบบ ซึ่งมีความสัมพันธ์กันโดยปราศจากคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีเข้ามาอำนวยความสะดวก

    ดังนั้นนักวิเคราะห์ระบบในรูปแบบนี้จึงมีบทบาทและหน้าที่ในการวิเคราะห์และออกแบบระบบโดยปราศจากคอมพิวเตอร์เทคโนโลยี

    ซึ่งความแตกต่างน่าจะอยู่ที่
    นักวิเคราะห์ระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์เทคโนโลยี ต้องดึงเอาความสามารถคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน มาแทรก(ประยุกต์)ให้อยู่ในเนื้องานของระบบเดิมที่เกิดขึ้นมาก่อนแล้ว

    โดยมีแรงกระตุ้นมาจาก ผู้ใช้ที่ต้องการความรวดเร็ว และ สะดวกสบายในการทำงาน ในภาวะที่มีการแข่งขันกันในปัจจุบัน

    ดังนั้น นักวิเคราะห์ระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์เทคโนโลยี จึงมีบทบาทหน้าที่ในการวิเคราะห์และออกแบบระบบในส่วนของคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีที่นำมาประยุกต์ใช้กับระบบเดิม

    เป้าหมายเดียวกัน แต่วีธีการปฏิบัติ อาจจะแตกต่างกันออกไป

    ผมก็เริ่มงงๆ แล้วครับ ว่าจะเรียกว่าแตกต่างดีหรือเปล่า

    เกรียงไกร(อาท) ^_^

    ตอบลบ