วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การดูแลรักษา การใช้งาน notebook และวิธีแก้ปัญหา

เนื่องจากใน ปัจจุบัน notebook มีราคาถุกลงกว่าเดิมมาก เพื่อนๆหลายคนคงมีเจ้า notebook อยู่ในครอบครองกันแล้ว แต่ ไม่ทราบวิธีดูแล อย่างถูกวิธีเรา จึงนำวิธีดูแล notebook ให้ อยู่กับเพื่อนๆไปนานๆมาฝากกันนะคะ




การดูแลรักษา การใช้งาน notebook และวิธีแก้ปัญหา


>> ใช้งานโน้ตบุ๊กให้ถูกสถานที่โน้ตบุ๊กควรใช้ในสถานที่ที่มีการถ่ายเทของอากาศที่ไหลเวียนได้สะดวก และการวางโน้ตบุ๊กไม่ควรวางบนพื้นที่มีความนุ่ม เพราะจะทำให้ไปปิดบังช่องระบายความร้อนใต้เครื่องได้ มีผู้ใช้บางกลุ่มนิยมนำโน้ตบุ๊กไปใช้บนที่นอน ซึ่งไม่ควรทำ เพราะที่นอนมีความนุ่มเวลาวางโน้ตบุ๊กลงไป พื้นด้านล่างจะแนบชิดไปกับที่นอนทั้งหมด ไม่มีช่องระบายความร้อน ซึ่งอาจจะส่งผลให้โน้ตบุ๊กเกิดความร้อนสูง จนแฮงค์และไม่สามารถใช้งานได้ต่อไป นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการใช้โน้ตบุ๊กในบริเวณที่มีฝนตก หรือมีความชื้นสูงๆ เพราะจะส่งผลต่อ อุปกรณ์ต่างๆ ภายใน

>> การชาร์จแบตเตอรี่ ผู้ใช้ควรอ่านคำแนะนำในการชาร์จแบตเตอรี่ในคู่มือที่มีมาให้ทุกครั้ง โดยเฉพาะการชาร์จไฟครั้งแรก ซึ่งจะต้องชาร์จนานกว่าปกติ หลังจากนั้นก็สามารถชาร์จไฟใหม่ได้ถึงแม้ว่าใช้งานแบตเตอรี่ยังไม่หมด มีผู้ใช้หลายท่านให้ข้อคิดเห็นว่า เวลาเสียบปลั๊กใช้งาน ซึ่งแบตเตอรี่เต็มแล้ว ไม่ควรจะใส่แบตเตอรี่เอาไว้ในเครื่อง เพราะจะทำให้ เกิดความร้อน และแบตเตอรี่เสื่อมเร็ว จริงๆ แล้วก็อาจจะเป็นไปได้ แต่ถ้าเรามองอีกมุมหนึ่ง การใส่แบตเตอรี่ค้างเอาไว้ขณะเสียบปลั๊กใช้งานก็เป็นการป้องกันเรื่องของไฟดับกะทันหันได้เช่นกัน เพราะถ้าเกิดไฟดับกระทันหัน จะส่งผลโดยตรงต่อฮาร์ดดิสก์ภายในเครื่อง ซึ่งอาจจะเสียหายได้ทันที โดยปกติแล้วแบตเตอรี่ก็มีอายุการใช้งานโดยเฉลี่ยที่ 2 ถึง 3 ปี ตามแต่ลักษณะของการใช้งานของแต่ละคน ซึ่งก็คงต้องใช้งานให้ถูกวิธีครับ จะช่วยยืด เวลาให้ยาวนานขึ้นไปได้อีกการสำรองข้อมูล เนื่องจากโน้ตบุ๊กออกแบบมาเพื่อการพกพา ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดการกระทบ หรือเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันจะค่อนข้างสูง ดังนั้นควรจะมี การสำรองข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะข้อมูลที่มีความสำคัญ ซึ่งปัจจุบันโน้ตบุ๊กจะติดตั้งคอมโบไดรฟ์มาให้อยู่แล้ว ดังนั้นการบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นซีดีน่าจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมมากที่สุดครับ ในการสำรองข้อมูลก็ สามารถใช้คำสั่ง Backup ใน Windows XP จัดการได้เลย เข้าไปที่เมนู Start => Programs => Accessories => System => Backup แล้วทำตามขั้นตอนต่างๆ ที่มีหน้าจอแสดงขึ้นมาแนะนำ

>> การทำความสะอาดโน้ตบุ๊ก การทำความสะอาดควรใช้ผ้าแห้งเช็ดทำความสะอาดโดยรอบตัวเครื่อง ยกเว้นจอภาพที่ควรจะใช้ผ้าหรือวัสดุที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ จัดการทำความสะอาด ส่วนตรงคีย์บอร์ดที่มักจะมีฝุ่น หรือเศษผงติดเข้าไปด้านใน ไม่ควรใช้วิธีการเป่า แต่ควรใช้วิธีการดูด อาจจะดูดด้วยเครื่องดูดฝุ่นเพื่อช่วยทำความสะอาดก็ได้เช่นกัน

>> หลีกเหลี่ยงไม่ให้โดนกระแทก เวลาพกพาโน้ตบุ๊กไปใช้งานตามที่ต่างๆ ควรจะมีการระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะหากเกิดไปกระแทกกับวัสดุอื่นๆ แล้วจะเกิดการ เสียหายที่ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะจอภาพที่มีความบอบบางเป็นพิเศษ ทุกครั้งก่อนนำไปใช้งาน ควรนำใส่กระเป๋าที่ออกแบบมาเพื่อใส่โน้ตบุ๊กโดยเฉพาะเพราะด้านในจะมีการบุด้วยวัสดุกันกระแทก เวลาเกิดไปกระแทกโดย ไม่ตั้งใจ วัสดุเหล่านั้นจะช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบาได้

>> อ่านคู่มือก่อนการใช้งาน ก่อนการใช้งานทุกครั้ง ผู้ใช้ควรทำความรู้จักโน้ตบุ๊กที่กำลังจะใช้งานให้มากที่สุด ด้วยการอ่านคู่มือ และคำแนะนำต่างๆ เพื่อการใช้งาน ได้อย่างถูกต้อง และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายในระยะยาว ปกติแล้วคู่มือจะแจ้งรายละเอียดของอุปกรณ์ทุกๆ อย่าง ตำแหน่งของพอร์ต และอุปกรณ์ คำเตือนและคำแนะนำต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเบอร์โทรสำหรับติดต่อ สอบถามเมื่อโน้ตบุ๊กเกิดปัญหา

>> เปิดเครื่องไม่ติด เริ่มต้นจากการตรวจสอบไฟแสดงสถานะเปิดเครื่องก่อนว่าติดหรือไม่ จากนั้นให้ดูว่าแบตเตอรี่เหลือน้อย หรือหมดแล้วหรือยัง แล้วจึงเสียบปลั๊ก แล้วลองกดปุ่มเปิดใช้งาน ถ้ากดปุ่มเปิดแล้วยังไม่ติด ให้ลองดูว่าคุณเสียบปลั๊กทุกๆ จุดดีแล้วหรือยัง ทั้งที่โน้ตบุ๊ก และช่องเสียบปลั๊กไฟ ถ้าตรวจสอบทั้งหมดแล้ว ยังเปิดไม่ติดให้รีบติดต่อไปยังศูนย์บริการทันที

>> จอภาพมีจุดสีสว่าง จอภาพโน้ตบุ๊กอาจจะเกิดสิ่งที่เรียกว่า Dead Pixel หรือ Bright Dot ขึ้น อันเนื่องมาจากข้อผิดพลาดในกระบวนการผลิตจอแอลซีดี ซึ่งเมื่อเกิดแล้ว คุณควรจะตรวจสอบก่อนว่ามีจำนวนจุดสีที่ผิดปกตินี้กี่จุด แล้วให้ติดต่อศูนย์บริการว่าสามารถเปลี่ยนหรือแก้ไขได้หรือไม่ ปกติแล้วจะมีข้อกำหนดเอาไว้ว่า หากมี Dead Pixels จำนวนกี่จุด ถึงจะเปลี่ยนได้ ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 5 จุดขึ้นไป ดังนั้นหากไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์นี้ควรจะสำรวจจอแอลซีดีก่อนรับเครื่องทุกครั้ง

>> จอภาพแสดงตัวอักษรเบลอ เกิดมาจากการปรับความละเอียดของจอแอลซีดีไม่ตรงตามสเปกที่กำหนดไว้ ซึ่งเป็นข้อจำกัดของจอแอลซีดีที่เราต้องปรับความละเอียดให้ตรง เพราะว่าจอแอลซีดีจะระบุจำนวนพิกเซลที่เอาไว้แสดงทั้งแนวตั้งและแนวนอนเอาไว้ หากปรับไม่ตรง จอภาพจะต้องมีการนำจุดสีหลายๆ จุดมาแสดงเป็นจุดเดียว ทำให้ภาพเกิดความเบลอ ปกติแล้วทั่วๆ ไปจะปรับตั้งกันไว้ที่ 1024×768 พิกเซล สามารถเข้าไปปรับได้ที่ Start => Settings => Control Panel => Display คลิ้กที่แถบ Settings แล้วสามารถเลือกปรับความละเอียดได้

>> ตัวอักษรที่แสดงมีขนาดเล็กเกินไป จากข้อจำกัดในการปรับความละเอียด ทำให้บางครั้งตัวอักษรที่แสดงเล็กเกินไป จะมีปัญหากับผู้ที่สายตาสั้นเป็นส่วนใหญ่ แต่ใน Windows เราสามารถปรับขนาดตัวอักษรให้ใหญ่ได้ครับเข้าไปที่ Start => Settings => Control Panel => Display คลิ้กที่แถบ Appearance แล้วปรับขนาดที่ Font ด้านล่าง ให้เป็น Large Fonts หรือ Extra Large Fonts

>> ต่อโน้ตบุ๊กเข้ากับทีวี แล้วไม่มีภาพ ก่อนจะไปปรับให้แสดงภาพไปยังทีวี ผู้ใช้ควรเชื่อมต่อสายระหว่างทีวีกับ S-Video พอร์ตเสียก่อน แล้วค่อยเปิดโน้ตบุ๊ก จากนั้นก็ไปปรับให้แสดงผลได้ใน Display Properties >> ลำโพงไม่มีเสียง ให้เข้าไปตรวจสอบว่าได้ไปปิดเสียงเอาไว้หรือเปล่า อาจจะกดปุ่มเปิดเสียงจากคีย์บอร์ด หรือว่าเข้าไปที่ Start => Settings => Control Panel => Sound and Audio Devices ตรงส่วนของ Devices Volume นั้นจะต้องไม่มีเครื่องหมายถูกที่หน้า Mute ถ้ามีให้คลิ้กเพื่อเอาออก ในบางกรณีอาจจะเกิดจากการหลงลืมของผู้ใช้เอง บางครั้งอาจจะเสียบหูฟังคาเอาไว้ หรือว่าเสียบแจ็คลำโพงภายนอกอยู่ ทำให้ไม่มีเสียงออกมาที่ลำโพงของตัวโน้ตบุ๊ก ควรตรวจสอบให้ดีก่อน

>> เครื่องหยุดทำงาน (แฮงค์) บ่อยมากๆ ปกติอาการเครื่องแฮงค์มักจะมาจากเรื่องของความร้อน เพราะถ้าร้อนมากๆ ซีพียูและอุปกรณ์ต่างๆ มักจะหยุดการทำงาน ตรงจุดนี้เอง อาจจะมาจากการใช้งานที่ไม่ถูกต้อง เช่น การวางโน้ตบุ๊กในที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก การวางโน้ตบุ๊กในตำแหน่งที่มีการปิดบังช่องระบายความร้อน เป็นต้น นอกจากนี้อาจจะมีจากความผิดปกติของระบบปฏิบัติการที่ใช้อยู่ หรืออุปกรณ์อื่นๆ ซึ่งคงต้องตรวจสอบไปทีละอุปกรณ์ หรือถ้าไม่มี ความรู้ในการตรวจสอบสามารถเลือกที่จะนำไปรับบริการที่ศูนย์บริการได้

>> เครื่องทำงานช้า ปกติเมื่อเราใช้งานไปสักระยะเครื่องมักจะทำงานช้าลง เพราะว่าเราได้ติดตั้งโปรแกรมต่างๆ หรือมีการบันทึกไฟล์ต่างๆ เข้าไปเป็นจำนวนมาก เวลาเรียกเพื่อเปิดใช้งานจะต้องใช้เวลาค้นหาเพื่อเปิดอ่านข้อมูลที่นานขึ้น เพราะไฟล์ต่างๆ อาจจะมีการจัดเก็บที่ค่อนข้างกระจัดกระจาย การจัดเรียงข้อมูลต่างๆ ให้เป็นระเบียบจะช่วยให้การใช้งานในส่วนต่างๆ ทำได้เร็วขึ้น ซึ่งก็คือการ Defragment นั่นเอง ให้เข้าไปที่ Start => Programs => Accessories => System Tools => Disk Defragmenter แล้วจัดการเรียงข้อมูลต่างๆ ให้เรียบร้อย นอกจากนี้สิ่งที่ทำให้เครื่องทำงานได้ช้า ก็อาจจะมาจากการที่ผู้ใช้เรื่องติดตั้งโอเอส หรือโปรแกรมใหม่ๆ ที่โน้ตบุ๊กไม่สามารถรองรับได้ ทำให้การทำงานต่างๆ ช้าไปหมด อาจจะแก้ปัญหาด้วยการซื้อเครื่องใหม่ หรือว่าจะอัพเกรดอุปกรณ์บางอย่าง เช่น ซีพียู หน่วยความจำ หรือฮาร์ดดิสก์ที่มีความเร็วสูงขึ้น

ลองทำตามคำแนะนำนี้ดูนะคะ เพราะค่าใช่จ่ายในการซ่อม Notebook ที่ศูนย์นี่แพงพอๆ กับซื้อเครื่องใหม่ได้ ที่เดียว

ที่มา:http://www.notebookspec.com/board/viewthread.php?tid=15946

5 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณมากนะ

    ที่นำคำแนะนำดีๆมาฝาก

    เราจะลองไปปฏิบัติดู

    นิติรัตน์(นิ)

    ตอบลบ
  2. ลืมชื่อคนโพส ค่ะ

    นัฐญา(นัท)

    ตอบลบ
  3. ขอบคุณสำหรับข้อความดีๆน่าจ๊ะ
    แต่ว่ามันสายไปนิดอ่ะ
    เพราะว่าแบตเสื่อมไปเปนที่เรียบร้อยแล้ว
    เพราะใช้งานเกือบ 24 ชม. ไม่ได้เอาแบตออก แร้วเสียบตรง ฮ่าๆ

    แต่ไงก้จะเกบไว้ใช้กับเครื่องในอนาคตแร้วกันนะจ๊ะ

    สุภาวดี (ฝ้าย)

    ตอบลบ
  4. เหอๆๆๆ

    สนมวอนม่ายมีโน้ตบุ้คหรอก

    แต่ว่าอ่านไว้ประดับความรู้ก้อดี

    คุคุ เพิ่งรุว่าย้วยก็มีสาระเปนด้วย เหอๆๆ

    ว่าแต่ว่า อิโน้ตบุ้คที่ห้องย้วยอ่ะ

    สนมสงสารมันจังเรยยยย

    พักบ้างอะไรบ้างนะคับ แห่ะๆ

    สนมวอน (เวอร์ชั่น โน ฟอแมท)

    ตอบลบ
  5. ขอบคุณสำหรับคำแนะนำดีๆจ้า

    แร้วจะนำไปลองทำตามที่แนะนำดูน้า ^_____^

    จิราพร(จูน)

    ตอบลบ