ประเดิมคอลัมน์ ทิศทางแนวโม้จากบทวิเคราะห์ของบริษัทแมคคินซี่ แอนด์ โค ที่ปรึกษาทางธุรกิจระดับโลกที่ให้มุมมองเทคโนโลยีธุรกิจครอบคลุมการจัดการ ด้านความสัมพันธ์ การจัดการสินทรัพย์และเงินทุน และการใช้ประโยชน์จากสารสนเทศในแนวทางใหม่ๆ
แนวโน้มแรกเป็นการกระจายการร่วมกันสร้างสรรค์ (Distributing cocreation) โดยเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้องค์กรธุรกิจ เปิดกว้างใช้นวัตกรรมจากภายนอกองค์กร ซึ่งปัจจุบันมีหลายอุตสาหกรรม ทั้งไฮเทค คอนซูเมอร์ โปรดักส์และยานยนต์ที่เปิดให้ลูกค้าซัพพายเออร์ผู้ชำนาญเฉพาะทางรวมถึง บริษัทรับเหมาช่วงธุรกิจ เข้ามามีส่วนรวมพัฒนาสินค้าใหม่
ข้อดีที่ได้จากคนนอกก็คือ มุมมองการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ขณะที่องค์กรสามารถควบคุมขั้นตอนและกระบวนการของการสร้างนวัตกรรมผ่านการ เอาท์ซอร์สซิ่งไปยังพันธมิตรธุรกิจในเครือข่ายของห่วงโซ่อุปทาน ทำให้องค์กรลดต้นทุนการพัฒนาสินค้าและเข้าถึงตลาดรวดเร็ว โดยลดคอขวดการพัฒนา โดยต้องอาศัยเทคโนโลยีมาตรฐานเปิด เช่น การใช้โปรแกรมช่วยออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์ซึ่งทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์อื่นๆ ช่วยให้ธุรกิจควบคุมกระบวนการทั้งหมดได้
แนวโน้มที่สอง การใช้คอนซูเมอร์เป็นผู้สร้างนวัตกรรม ในยุคที่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเปิดกว้างในคอนซูเมอร์เข้ามามีส่วนร่วมในการ สร้างคอนเท้นท์ แม้ในองค์กรก็สามารถใช้พลังงานดังกล่าวนำลูกค้าเป้าหมายเข้ามามีส่วนร่วมใน การพัฒนาสินค้าขององค์กร ผ่านการใช้เทคโนโลยีเครือข่ายซอฟต์แวร์ช่วยสนับสนุนการทำงานร่วมกับปฏิ สัมพันธ์ เช่น Threadless เว็บไซต์ที่ขายเสื้อผ้า ที่เปิดให้คนทั่วไปเข้ามาเสมอแบบเสื้อยืดที-เซิร์ต และให้ผู้เข้ามาร่วมในเว็บโหวตเลือกแบบที่ชอบ 4-6 แบบ จะได้รับการนำมาพิมพ์บนเสื้อและจำหน่ายในร้าน
บริษัทสามารถที่จะใช้เทคโนโลยีของเว็บ 2.0 ให้ลูกค้าเข้ามาร่วมออกแบบ ทดสอบ ทำตลาด และกระบวนการหลังการขาย เพื่อให้ได้ข้อมูลความต้องการและพฤติกรรมของลูกค้าเชิงลึก และสร้างรอยัลตี้ให้กับลูกค้าเดิมที่มีอยู่ได้พร้อม ๆ กับลดระยะเวลาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
แนวโน้มที่สาม การเข้าถึงคนที่มีความสามารถพิเศษที่กระจายอยู่ทั่วโลก องค์กรสามารถใช้กลไกของการสื่อสารใหม่ๆ และซอฟต์แวร์คอลลาบอเรชั่น มาใช้เป็นเครื่องมือการทำงานกับแรงงานที่มีทักษะเฉพาะทางที่อยู่ภายนอก องค์กร และกระจายอยู่ทั่วโลก โดยสามารถว่าจ้างนักพัฒนาอิสระและผู้เชี่ยวชาญเหล่านั้น ทั้งนี้มีหลายอุตสาหกรรมที่กำลังใช้รูปแบบธุรกิจดังกล่าวไม่ว่าจะเป็น ซอฟต์แวร์ เฮลธ์แคร์ โพรเฟสชั่นแนล เซอร์วิสและอสังหาริมทรัพย์ ที่ธุรกิจสามารถแบ่งงานออกเป็นส่วนๆ กระจายให้ผู้รับจ้างภายนอกและนำชิ้นงานกลับมารวมใหม่
แนวโน้มที่สี่ การเพิ่มมูลค่าจากการปฏิสัมพันธ์ โดยเทคโนโลยีหลายๆ อย่างที่ช่วยสร้างปฏิสัมพันธ์ หรืออินเตอร์แอคชั่นของคนในองค์กรและนอกองค์กรมากขึ้นทั้งวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ วิกิส และทำงานเวอร์ช่วลทีม บริษัทสามารถเรียนรู้การใช้วานเครื่องมือเหล่านั้น เพื่อให้สามารถสร้างนวัตกรรมการจัดการที่ชาญฉลาดมากขึ้นและหนทางที่รวดเร็ว ขึ้น ทั้งการปฏิสัมพันธ์ระดับบุคคลและทีมงาน เพื่อที่ให้คู่แข่งไม่สามารถทำตามได้ ปัจจุบันกลุ่มเฮลธ์แคร์และการเงินธนาคารก็มุ่งสู่หนทางนี้ และหากบริษัทต้องการเพิ่มโพรดักส์ติวิตี้ จำเป็นต้องเลือกลงทุนเทคโนโลยีนี้ได้อย่างเหมาะสม
แนวโน้มที่ห้า ขยายขอบเขตการใช้ระบบอัตโนมัติ หลายองค์กรปัจจุบันใช้ซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้กระบวนการทำงานเป็นอัตโนมัติมาก ขึ้น ทั้งระบบวางแผนบริหารทรัพยากรองค์กร (อีอาร์พี) เทคโนโลยีด้านซัพพลายเชน การจัดการความสัมพันธ์ลูกค้า (ซีอาร์เอ็ม) ฐานข้อมูลด้านบุคลากรสินค้าและลูกค้า รวมถึงเว็บไซต์ ทั้งหมดสามารถนำข้อมูลจากระบบต่างๆ มาแรกเปลี่ยนระหว่างกันผ่านมาตรฐานร่วมกระนั้น องค์กรยังขาดการต่อยอดใช้ประโยชน์ที่ได้จากระบบออโตเมชั่นเหล่านี้ โดยเฉพาะควรจะเร่งในกลุ่มที่ยังใช้ไอทีต่ำซึ่งระบบต่าง ๆ ยังไม่เชื่อมต่อกัน
มีตัวอย่างธุรกิจที่ต่อยอดจากการทำงานออโตเมชั่น เช่นเฟ็ดเด็กซ์ และยูพีเอส ที่เชื่อมโยงข้อมูลภายในองค์กรและสร้างระบบติดตามสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ต วิธีนี้ผู้ใช้สามารถติดตามสถานะสินค้าได้เองโดยไม่ต้องใช้คนเข้ามาเกี่ยว ข้อง ขณะที่แวดวงค้าปลีก ยักษ์ใหญ่อย่างคาร์ฟูร์ เมโทรและวอลล์มาร์ทนำระบบอาร์เอฟไอดีเข้ามาติดในสินค้า โดยขอความร่วมมือกับผู้ผลิตสินค้าเพื่อให้กระบวนการทั้งหมดเป็นไปอย่าง อัตโนมัติโดยเฉพาะการลดต้นทุนการกระจายสินค้า และเพิ่มรายได้ให้กับองค์กรจากการจัดการซัพพลายเชนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
แนวโน้มที่หก แยกการผลิตออกจากการขนส่ง เทคโนโลยี สามารถที่จะช่วยให้บริษัทต่างๆ ใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ที่มีอยู่มากขึ้น โดยทำระบบที่มีอยู่ให้เป็นคอมโพเน้นท์ที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ วัดและตรวจจับระดับปริมาณการใช้งานของผู้ใช้แต่ละคน และออกใบเรียกเก็บเงินค่าบริการ ดังนั้น เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ช่วยสร้างรูปแบบใหม่และการจัดสรรและวางแผนการใช้ทรัพยากรระบบที่มีอยู่ เช่น อะเมซอนดอทคอมขยายรูปแบบธุรกิจ โดยเปิดให้ร้านค้าปลีกอื่นๆ ได้ใช้บริการโลจิสติกส์และดิสทริบิวชั่นของบริษัท และเปิดให้บริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์อิสระเข้ามาซื้อบริการการประมวลผลจากโครง สร้างพื้นฐานไอทีที่มีอยู่ โดยที่บริษัทขนาดเล็กเหล่านั้นไม่ต้องลงทุนเอง
สำหรับบริษัทและผู้ประกอบกิจการใหม่ที่ต้องการมองหาทรัพยากรระบบเพิ่มเติม การแยกส่วนบริการนี้ จะทำให้เข้าถึงสินทรัพย์ที่มีอยู่ เพื่อขยายธุรกิจ และลดภาระการลงทุนขณะที่บริษัทที่เปิดให้คนภายในและภายนอกองค์กรได้ใช้ ทรัพยากรที่มีอยู่ต้องสามารถจัดการความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะเวลาที่ดีมานด์มากกว่าซัพพลาย ผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือแบบเสมือน หรือโมบายเวอร์ช่วล-เน็ตเวิร์ค โอเปอเรเตอร์ เป็นอีกกลุ่มที่เกาะกระแสนี้โดยสามารถให้บริการไร้สาย แบบไม่ต้องลงทุนโครงข่ายเอง
แนวโน้มประการที่เจ็ด นำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาใช้กับการจัดการให้มากขึ้น โดยหารูปแบบการใช้ประโยชน์จากสารสนเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งการใช้เพื่อการตัดสินใจ การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน และรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ ทั้งนี้ การใช้เทคโนโลยีที่ช่วยลดต้นทุน การทดลองใหม่ๆ ช่วยให้ผู้นำองค์กรคิดเหมือนกับนักวิทยาศาสตร์ โดยการใช้ทางเลือกการสร้างและวิเคราะห์
มีตัวอย่างในหลายธุรกิจ อย่างอะเมซอนดอทคอม ที่เป็นบริษัทชั้นแนวหน้าการแบ่งกลุ่มลูกค้าโดยใช้ข้อมูลการจัดซื้อหนังสือ ในอดีตของลูกค้า เพื่อนำมาใช้แนะนำหนังสือที่ลูกค้าคนนั้นน่าจะสนใจซื้อ ที่ช่วยกระตุ้นและเพิ่มโอกาสการขายมากขึ้น
สุดท้าย การทำธุรกิจใหม่ๆ จากสารสนเทศ การนำข้อมูลที่กระจายอยู่ในระบบต่างๆ มารวมศูนย์ จะช่วยสร้างข้อมูลที่เป็นฐานการประกอบธุรกิจใหม่ๆ การรวบรวม (อะกรีเกรชั่น) ข้อมูลผ่านกระบวนการดิจิทัล และกิจกรรมต่างๆ อาจสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ทำกำไรได้ เช่น ร้านค้าปลีกที่ขายกล้องดิจิทัลอาจวิเคราะห์พฤติกรรมรูปแบบการจับจ่ายของคอม ซูเมอร์และปริมาณการเดินมาที่ร้าน และใช้ข้อมูลเหล่านั่นมาจัดว่างสินค้าและทำโปรโมชั่น ทั้งอาจขายข้อมูลดังกล่าวไปให้กับเวนเดอร์เจ้าของสินค้าด้วย
กล่าวโดยสรุป ผู้นำธุรกิจที่สร้างสรรค์เท่านั้น จึงสามารถนำเทคโนโลยีใหม่ที่หลากหลายมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจและสร้างโอกาส ทางการตลาดใหม่ๆ มากกว่าการใช้เทคโนโลยีเพียงเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้
ที่มา : http://www.vcharkarn.com/varticle/38788
ปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามาทีบทบาทต่อองค์กรทุกๆองค์กร โดยเฉพาะองค์กรธุรกิจเองที่มีการแข่งขันกันในอัตราที่สูงมาก ดังนั้น องค์กรใดที่มีการนำเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับองค์กรของตนมาใช้ย่อมทำให้องค์กรนั้นดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้รับการยอมรับจากลูกค้า และได้เปรียบทางการแข่งขันด้วย
พรรณราย (แมม)
เห็นด้วยมากๆเลยกับที่บอกว่า เดี๋ยวนี้เทคโนโลยีมีความสำคัญกับทุกๆองค์กรมาก
ตอบลบซึ่งยิ่งเป็นองค์กรขนาดใหญ่ที่มีการแข่งขันสูงก็ยิ่งมีความสำคัญ
ถ้ารู้จักนำเทคโนโลยีที่ทีอยู่มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ก็จะสามารถเอื้อประโยชน์ต่อการดำเนินงานขององค์กร และก่อให้เกิดข้อได้เปรียบคู่แข่งมากเลยทีเดียว ^^
จิราพร(จูน)
ช่าย อันนี้เราก็เห็นด้วย สมัยนี้อะไรๆ ก็ต้องเกี่ยวกับเทคโนโลยี
ตอบลบและต้องใช้คอมพิวเตอร์ ถ้าองค์กรธุรกิจไหน ไม่มีเทคโนโลยีล่ะก็
จะดูล้าหลังไม่ทันสมัยอ่า เพราะว่าเทคโนโลยีเหล่านี้มันก็ช่วย
ให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น และลดการใช้ทรัพยากรด้วย
วรรณวิษา ( น้ำ )