สวัสดีครับเพื่อนๆเจอกันอีกแล้วอาทิตย์นี้ผมจะขอเสนอ เรื่องยีนต์ต่อสู้โรคมะเร็ง ในขณะที่คนปกติอายุสูงขึ้นความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งจะมีมากขึ้นเป็นเงาตามตัวทั้งนี้เนื่องจากเมื่อเวลาผ่านไป ดี เอ็น เอ ในคนจะถูกทำลายจากสาเหตุมะเร็งสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ จากการวิจัยล่าสุดเสนอแนะว่านี่คือเหตุผลที่เป็นไปได้อีกอย่างหนึ่งสำหรับความเสี่ยงดังกล่าวที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้จากการทดลองในหนูทดลองแสดงให้เห็นว่า ยีนส์ที่เป็นตัวกดดันไม่ให้เกิดเนื้องอก (Tumor-Suppressing gene) จะทำงานด้อยลงในผู้สูงอายุ ยีนส์ดังกล่าวเรียกว่า p53 เป็นยีนส์ตัวหนึ่งที่มีความสำคัญที่สุดที่มีการศึกษากันอย่างละเอียดในการทำหน้าที่เป็นยีนส์ต่อต้านมะเร็ง (Anti-Caneer genes) เมื่อดีเอ็นเอของเซลถูกทำลายลง ยีนส์ p53 จะทำหน้าที่ตอบสนองโดยการซ่อมแซมเซลนั้นหรือสั่งให้เซลนั้นทำลายตัวเองเพื่อป้องกันไม่ให้เซลที่พิการ เจริญเติบโตไปสู่เนื้องอกในที่สุด มีการประเมินว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของเนื้องอกที่เกิดขึ้นในคนนั้นเกิดจากการแปรพันธุ์ (Mutation) ในยีนส์ p53 นักวิจัยจากสถาบันโรคมะเร็งนิวเจอร์ซี่ เมืองนิวบรุนสวิค นำโดยนาย Arnold J. Levine ทดลองใช้หนูทดลองอายุต่างๆมาฉายด้วยรังสีแกมม่าซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้การตอบสนองการควบคุมการทำลายของยีนส์เริ่มทำงาน หลังจากนั้นอีก 6 ชั่วโมงพบว่า การทำงานของยีนส์ p53 ในหนูทดลองที่มีอายุน้อยสุดสูงขึ้น 7 ถึง 8 เท่า แต่ในหนูที่มีอายุชราคือประมาณ 3 ปี พบว่ามีเพิ่มขึ้นเพียง 2-3 เท่า แสดงให้เห็นว่ายีนส์ที่ควบคุมการทำลายทำงานในหนูชราเพียงครึ่งเดียวเมื่อเทียบกับในหนูเยาว์วัย ผลจากการทดลองดังกล่าวยังอธิบายได้ว่าทำไมโรคมะเร็งจึงมักเกิดขึ้นในบั้นปลายชีวิตของคน นอกจากนี้ยังพบว่าการทำงานของยีนส์ p53 ยังมีความแตกต่างในเพศหญิง และเพศชาย แสดงให้เห็นว่า ฮอร์โมนอาจมีบทบาทสำคัญในการควบคุมยีนส์ดังกล่าว อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์ยังติดตามการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อตัดสินว่าการทำงานของยีนส์ดังกล่าวในคนเกิดขึ้น เหมือนกันในหนูทดลองหรือไม่อย่างไรต่อไป |
วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
ยีนส์ต่อสู้โรคมะเร็งมีจำนวนลดลงเมื่ออายุสูงขึ้น
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น