สวัสดีครับ ในสัปดาห์นี้ ผมมีบทความบทหนึ่งมาฝากเพื่อนๆนะครับ เป็นบทความเกี่ยวกับการใช้รหัสผ่าน ซึ่งปัจจุบันมักจะใช้รหัสผ่านง่ายๆ เช่น 1234 ซึงการที่จะเดาคงไม่ยากแน่นอนสำหรับนัก hacker เพื่อนๆลองอ่านบทความนี้ดูนะครับ เพื่อจะได้ข้อคิดอะไรได้บ้างในการตั้งรหัสผ่านของตัวเอง ^^
รณรงค์กันไม่รู้กี่รอบ แต่ดูเหมือนว่าผู้ใช้ทั่วไปจะไม่ค่อยให้ความสนใจกับเรื่องรหัสผ่านสักเท่าไร ทั้งที่ความจริงเป็นเรื่องที่ควรสนใจมากที่สุด
เว็บไซต์ส่วนใหญ่กำหนดให้ผู้ใช้ตั้งรหัสผ่านให้ปลอดภัยโดยอิงจากจำนวนอักษรเป็นหลัก ซึ่งไม่ค่อยจะได้ผลเท่าไร เพราะมีการเอาข้อความง่ายๆ มาใช้ หลายครั้งมีการแจ้งเตือนให้ทราบว่ารหัสผ่านที่ตั้งเอาไว้นั้นช่างเดาง่ายเสียเหลือเกิน แต่ผู้ใช้จำนวนมากก็ไม่สนใจ
และนั่นเป็นที่มาของการเก็บสถิติรวบรวมเอารหัสผ่านกว่า 28,000 รายการที่ถูกขโมยจากเว็บไซต์ในสหรัฐฯ มาวิเคราะห์ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้เชื่อว่าไม่ต่างจากนิสัยคนไทยซักเท่าไรตามที่ได้เคยสอบถามคนรู้จักหลายๆ คน
ลองมาดูกันว่า รหัสผ่านยอดฮิตที่คนส่วนใหญ่ตั้งกันนั้น .. เดาได้ง่ายขนาดไหน
16 เปอร์เซ็นต์: ใช้ชื่อของตัวเองเป็นรหัสผ่าน บางทีก็อาจเปลี่ยนเป็นชื่อของลูกๆ หรือคนใกล้ชิดในครอบครัว เช่น สามี หรือภรรยา เป็นต้น
14 เปอร์เซ็นต์: ใช้รหัสผ่านแบบชุดแป้นพิมพ์ที่ติดกัน เช่น 1234, 123456, 1234567 หรือ qwerty เป็นต้น
5 เปอร์เซ็นต์: ใช้ชื่อดาราหรือตัวการ์ตูนโปรดมาแทนรหัสผ่าน
4 เปอร์เซ็นต์: คนที่เรียบง่ายเหล่านี้ใช้รหัสผ่านว่า password -- ตรงความหมายดี
3 เปอร์เซ็นต์: ใช้ถ้อยคำแสดงอารมณ์ความรู้สึก เช่น whatever, yes, no, iloveyou, ihateyou เป็นต้น
สรุปแล้ว 42 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตนั้น ใช้รหัสผ่านที่ไม่ปลอดภัย และเดาได้ง่ายมาก ซึ่งจะนำพาไปสู่ปัญหาอื่นๆ ตามมาได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการขโมยข้อมูล หรือสร้างความเสียหายด้านการเงินจากแฮกเกอร์ที่ต้องการรหัสผ่านเป็นใบเบิกทาง
บริษัท Errata Security ที่ทำงานวิจัยชิ้นนี้แนะนำว่า รหัสผ่านที่ดีควรยาวเกิน 8 ตัวอักษร และมีทั้งตัวหนังสือ ตัวเลข และสัญลักษณ์ผสมกัน
อ้อ! แล้วก็อย่าตั้งให้ยากเกินจนจำไม่ได้ เลยต้องติดรหัสผ่านเอาไว้ข้างๆ มอนิเตอร์ด้วยโพสต์อิต .. เพราะนั่นยิ่งอันตรายเข้าไปใหญ่ครับ
เป็นอย่างไรบ้างครับสำหรับบทความในครั้งนี้ ดีไม่ดีอย่างไรสามารถ comment ได้นะครับ แต่ในความคิดเห็นผมนั้น เป็นเรื่องที่เราควรใส่ใจมากๆ ในเรื่องของการตั้งรหัสผ่าน เนื่องจากทุกวันนี้ ข้อมูลถือเป็นสิ่งจำเป็นในยุคนี้ ดังนั้นการที่จะป้องกันข้อมูลเพื่อไม่ให้รั่วไหล จึงจำเป็นต้องใช้รหัสในการป้องกัน หากเราไม่คำนึงถึงการตั้งรหัส ก็จะทำให้ผู้ไม่หวังดีสามารถเจาะข้อมูลไปได้ ซึงจะสร้างความเสียหายในภายหน้าได้ ^^
อ้างอิงมาจาก http://www.arip.co.th/articles.php?id=407315
นพพล (โอ)
รณรงค์กันไม่รู้กี่รอบ แต่ดูเหมือนว่าผู้ใช้ทั่วไปจะไม่ค่อยให้ความสนใจกับเรื่องรหัสผ่านสักเท่าไร ทั้งที่ความจริงเป็นเรื่องที่ควรสนใจมากที่สุด
เว็บไซต์ส่วนใหญ่กำหนดให้ผู้ใช้ตั้งรหัสผ่านให้ปลอดภัยโดยอิงจากจำนวนอักษรเป็นหลัก ซึ่งไม่ค่อยจะได้ผลเท่าไร เพราะมีการเอาข้อความง่ายๆ มาใช้ หลายครั้งมีการแจ้งเตือนให้ทราบว่ารหัสผ่านที่ตั้งเอาไว้นั้นช่างเดาง่ายเสียเหลือเกิน แต่ผู้ใช้จำนวนมากก็ไม่สนใจ
และนั่นเป็นที่มาของการเก็บสถิติรวบรวมเอารหัสผ่านกว่า 28,000 รายการที่ถูกขโมยจากเว็บไซต์ในสหรัฐฯ มาวิเคราะห์ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้เชื่อว่าไม่ต่างจากนิสัยคนไทยซักเท่าไรตามที่ได้เคยสอบถามคนรู้จักหลายๆ คน
ลองมาดูกันว่า รหัสผ่านยอดฮิตที่คนส่วนใหญ่ตั้งกันนั้น .. เดาได้ง่ายขนาดไหน
16 เปอร์เซ็นต์: ใช้ชื่อของตัวเองเป็นรหัสผ่าน บางทีก็อาจเปลี่ยนเป็นชื่อของลูกๆ หรือคนใกล้ชิดในครอบครัว เช่น สามี หรือภรรยา เป็นต้น
14 เปอร์เซ็นต์: ใช้รหัสผ่านแบบชุดแป้นพิมพ์ที่ติดกัน เช่น 1234, 123456, 1234567 หรือ qwerty เป็นต้น
5 เปอร์เซ็นต์: ใช้ชื่อดาราหรือตัวการ์ตูนโปรดมาแทนรหัสผ่าน
4 เปอร์เซ็นต์: คนที่เรียบง่ายเหล่านี้ใช้รหัสผ่านว่า password -- ตรงความหมายดี
3 เปอร์เซ็นต์: ใช้ถ้อยคำแสดงอารมณ์ความรู้สึก เช่น whatever, yes, no, iloveyou, ihateyou เป็นต้น
สรุปแล้ว 42 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตนั้น ใช้รหัสผ่านที่ไม่ปลอดภัย และเดาได้ง่ายมาก ซึ่งจะนำพาไปสู่ปัญหาอื่นๆ ตามมาได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการขโมยข้อมูล หรือสร้างความเสียหายด้านการเงินจากแฮกเกอร์ที่ต้องการรหัสผ่านเป็นใบเบิกทาง
บริษัท Errata Security ที่ทำงานวิจัยชิ้นนี้แนะนำว่า รหัสผ่านที่ดีควรยาวเกิน 8 ตัวอักษร และมีทั้งตัวหนังสือ ตัวเลข และสัญลักษณ์ผสมกัน
อ้อ! แล้วก็อย่าตั้งให้ยากเกินจนจำไม่ได้ เลยต้องติดรหัสผ่านเอาไว้ข้างๆ มอนิเตอร์ด้วยโพสต์อิต .. เพราะนั่นยิ่งอันตรายเข้าไปใหญ่ครับ
เป็นอย่างไรบ้างครับสำหรับบทความในครั้งนี้ ดีไม่ดีอย่างไรสามารถ comment ได้นะครับ แต่ในความคิดเห็นผมนั้น เป็นเรื่องที่เราควรใส่ใจมากๆ ในเรื่องของการตั้งรหัสผ่าน เนื่องจากทุกวันนี้ ข้อมูลถือเป็นสิ่งจำเป็นในยุคนี้ ดังนั้นการที่จะป้องกันข้อมูลเพื่อไม่ให้รั่วไหล จึงจำเป็นต้องใช้รหัสในการป้องกัน หากเราไม่คำนึงถึงการตั้งรหัส ก็จะทำให้ผู้ไม่หวังดีสามารถเจาะข้อมูลไปได้ ซึงจะสร้างความเสียหายในภายหน้าได้ ^^
อ้างอิงมาจาก http://www.arip.co.th/articles.php?id=407315
นพพล (โอ)
เคยอ่านเจอมาเหมือนกันเกี่ยวกับการตั้ง password
ตอบลบเค้าแนะนำว่า
ให้พิมพ์ภาษาไทย แต่ใช้แป้น(พิมพ์)อังกฤษ
ซึ่งจะทำให้เราจำได้
แต่จะยากต่อการคาดเดาหรือไม่ อันนี้ก้อไม่แน่ใจเหมือนกัน
หุหุ
ลองเอาไปใช้กันดูล่ะกานนะ
^____^
พิมพ์ภัทรา (สายป่าน)
เห็นด้วยกับบทความมากๆ
ตอบลบเพราะยังไงเราก็ต้องตั้งรหัสเป็น
เรื่องที่ใกล้ตัว ที่เราสามารถจำได้
ตามรายงานวิจัยดังกล่าวเลย
วรุตม์(เน)
ได้ความรู้ ดีดี อีกแล้ว
ตอบลบแต่รหัสผ่านก็ อย่าไปตั้งมัน ยากเกินนะ
เกิดลืมขึ้นมา แย่เลย
จิรยุทธ (หยก)
เตือนสติดี
ตอบลบเพราะเป็นเรื่องใกล้ตัว
ที่บางทีเราก็ไม่ได้คิด
ตั้งกันแบบง่ายๆ
นิติรัตน์ (นิ)
โอ้...
ตอบลบเราเองก็ตั้งรหัสที่มันจำง่ายๆๆๆๆมากๆๆ
เพราะเราชอบลืม กำ
ขอบคุณที่แนะนำนะจ๊ะโอ...
วันนิดา (ต๊อบ)
เราเองก้ตั้งรหัสง่ายๆ ชื่อตัวเองบ้่างก้มี ตัวเลขซ้ำๆกันก้มี
ตอบลบแต่วิธีตั้งรหัสของป่านที่เสนอมาก็เจ๋งดีนะ เด๋วจะลองเอาไปใช้ดูมั้ง
พงศธร(พง)
แต่บางครั้งถ้าตั้งยากๆมันก็พิมพ์ลำบากอ่ะ
ตอบลบแล้วบางครั้งถ้ามีรหัสหลายอันมันก็ลืม
พรรณราย (แมม)
เป็นบทความที่ดีมากเลยอะ เป็นเรื่องใกล้ตัวมากๆ
ตอบลบเราเองก็เป็นคนนึงที่ตั้งรหัสที่จำได้ง่ายๆ เพราะกลัวจะลืมอะนะ ==
..สงสัยต้องหันมาสนใจเรื่องการตั้งรหัสผ่านให้มากขึ้นเพื่อความปลอดภัยซะแล้วสิ ^^
จิราพร(จูน)
แม่นแร้ว มันเปนเรื่องจริงสุดๆ
ตอบลบที่คนส่วนมากมักจะ
ใช้รหัส ที่เปน ธรรม ใกล้ตัว อะไรที่จำง่ายๆ
ละสุดท้ายก้ ง่ายต่อการ CRACK ของ HACKER ในที่สุด
สุภาวดี(ฝ้าย)