วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

อุปสรรคของการพัฒนาระบบ

สวัสดีครับ วันนี้ผมได้นำเรื่อง อุปสรรคของการพัฒนาระบบ มาให้เพื่อนๆได้อ่านกัน เพราะการทำงานทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม เราก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงอุปสรรคได้อย่างแน่นอน อยู่ที่ว่าจะมากหรือน้อยนั่นเองใช่ไหมคับ แม้แต่เรื่องของการพัฒนาระบบก็เช่นกัน ดังนั้นเรามาดูกันดีกว่าคับว่า การพัฒนาระบบนั้นอาจมีอุปสรรคอะไรเกิดขึ้นบ้าง

การพัฒนาระบบมักก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร โดยเฉพาะวิธีการทำงานในองค์กร เพราะ การพัฒนาระบบเกี่ยวข้องกับการทำงานในองค์กรนั่นเอง แม้นักวิเคราะห์ระบบจะมีทักษะความสามารถสูง แต่ก็อาจพบกับอุปสรรคที่มาจากผู้ทำงานในองค์กรด้วย

การต่อต้าน
การต่อต้านมักมีสาเหตุมาจากมุมมองของผู้ที่รับผลกระทบจากการพัฒนาระบบ ปัญหาความขัดแย้งหรือที่เรียกว่าปัญหาการเมืองภายในองค์กร เช่น
1. ความไม่ไว้วางใจ
ความไม้ไว้วางใจมาจากความรู้สึกที่ว่า นักวิเคราะห์ระบบนั้นเป็นบุคคลภายนอก ไม่ว่าจะเป็นบุคคลภายนอกที่องค์กรจ้างให้มาทำหน้าที่วิเคราะห์ระบบ หรือแม้เป็นบุคคลที่ทำงานในองค์กรเดียวกัน ก็ยังเป็นบุคคลนอกส่วนงาน
2. กลัวการสูญเสียอำนาจ
การพัฒนาระบบมีผลต่อโครงสร้างการทำงานในองค์กร เช่น การพัฒนาระบบอาจไปลดขั้นตอนบางด้านลง ผู้ที่รับผิดชอบงานนั้นอาจรู้สึกไม่พอใจ เพราะกลัวการไม่เห็นความสำคัญของตนเองในความรับผิดชอบนั้น
3. ไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลง
ผู้ใช้งานระบบปัจจุบัน มักจะคุ้นเคยกับวิธีการทำงานปัจจุบันจนเกิดความชำนาญ เมื่อมีการพัฒนาระบบใหม่ ผู้ใช้ต้องเริ่มต้นเรียนรู้งานด้านใหม่ ผู้ใช้อาจรู้สึกว่าเป็นภาระที่เพิ่มขึ้นมา
4. กลัวการเสียเวลา
กลัวการเสียเวลา มักมาจากความไม่มั่นใจต่อการเปลี่ยนแปลง เช่น กลัวว่า ระบบที่พัฒนาขึ้นมาใหม่จะช่วยให้ทำงานได้ดีกว่าระบบปัจจุบันจริงหรือไม่ เนื่องจากการพัฒนาระบบใช้ย่อมเสียเวลาขององค์กรในช่วงของการทดลองใช้ระบบงานใหม่ ซึ่งการเสียเวลาอาจทำให้ผู้ปฏิบัติงานในระบบไม่พอใจ นอกจากนี้ การเสียเวลาย่อมหมายถึงการเสียโอกาสในเรื่องต่างๆด้วย โดยเฉพาะในองค์กรธุรกิจ

ความไม่ชัดเจนในความต้องการ
ในหลายครั้งที่องค์กรต้องการระบบการทำงานใหม่เหมือนการต้องก้าวให้ทันแฟชั่น หรือต้องการผลลัพธ์ในด้านภาพลักษณ์มากกว่าผลลัพธ์ทางสารสนเทศก็ได้ จึงมีผลทำให้นักวิเคราะห์ระบบนั้นไม่สามารถกำหนดปัญหาและวิธีการแก้ไขข้อมูลที่ครอบคลุม เพราะอาจขาดข้อมูลที่ครบถ้วนในการวิเคราะห์นั่นเอง ตัวอย่างเช่น
1. ความขัดแย้งในความต้องการของแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้องในองค์กร
2. ความไม่เข้าใจหรือความไม่ชัดเจนในความต้องการ
3. ความไม่ชัดเจนในกระบวนการในระบบที่จะได้มาซึ่งผลลัพธ์ของระบบ

นโยบายด้านการรักษาข้อมูลภายใน
แต่ละองค์กรมักจะมีข้อมูลที่เสี่ยงต่อความเข้าใจผิด (sensitive information) ต่อบุคลากรภายนอก หรืออาจเป็นข้อมุลส่วนบุคคลที่องค์กรไม่ต้องการให้มีการเปิดเผย เช่น ผลประกอบการ อัตราเงินเดือนพนักงาน ข้อมูลบัญชีงบดุลทางการเงิน ดังนั้น องค์กรอาจไม่เปิดเผยข้อมูลบางด้านที่จำเป้นต่อการนำมาวิเคราะห์ทั้งจงใจและไม่ตั้งใจ ผู้ที่วิเคราะห์ระบบจึงต้องหาวิธีที่จะได้ข้อมูลให้มากที่สุดและยังคงอยู่ในนโยบายขององค์กรมากที่สุด หรือต้องสร้างหลักประกันว่า ข้อมูลจะถูกเก็บรักษาไว้เป็นความลับอย่างดี

อ่านแล้วทำให้รู้สึกว่าการพัฒนาระบบถึงจะเป็นเรื่องที่ดีแต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายและใช่ว่าจะสมบูรณ์แบบเสมอไป ทุกๆเรื่องย่อมมีผลดีและผลเสียทั้งนั้น เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะทำอะไรเราต้องคิดหน้าคิดหลังให้ดี นอกจากนี้ยังทำให้รู้ว่าการอยู่ร่วมกันหรือการทำงานร่วมกับคนหมู่มากนั้นย่อมมีอุปสรรคมากมายตามมาซึ่งบางทีเราอาจไม่ทันรู้ตัวก็เป็นได้ ดังนั้นการที่เราจะเข้าไปทำงานสักที่หนึ่ง ไม่ใช่ว่าแค่มีความสามารถก็เพียงพอ แต่เรายังต้องรู้จักสังเกตและรู้จักปรับตัวให้กลมกลืนเข้ากับสังคมนั้นๆหรือวัฒนธรรมขององค์กรนั้นๆ เพราะแต่ละที่นั้นย่อมมีความแตกต่างกันอย่างแน่นอน ซึ่งเราถ้าสามารถฝันผ่าอุปสรรคเหล่านั้นไปได้ ประสบการณ์ที่ได้มาจะทำให้เราเติบโตขึ้นอย่างแน่นอน

เพื่อนๆก็ลองอ่านกันดูนะคับ สงสัยอย่างไร ติชมกันได้คับ

ที่มา: หนังสือ System Analysis & Design เขียนโดย อาจารย์ธีรวัฒน์ ประกอบผล

ณัฐพล(โอ๊ค)

1 ความคิดเห็น:

  1. โอ้บระเจ้า!มันยอดมาก

    มันช่างอัดแน่นไปด้วยสาระเต็มเปี่ยม

    ทำให้เห็นเข้าใจโลกมากขึ้นอย่างบอกไม่ถูก

    เกินไปและ 5555+

    ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ

    มนัสนันท์(มินต์)

    ตอบลบ