1. สแกนหาไวรัส
จัดเป็นข้อควรปฏิบัติที่สำคัญเป็นอันดับต้นๆ ที่ควรให้ความสำคัญและหมั่นทำเป็นประจำ
2. ปัดกวาดไฟล์หรือขยะที่ไม่ได้ใช้
2. ปัดกวาดไฟล์หรือขยะที่ไม่ได้ใช้
ยิ่งใช้งานเครื่องมานานเท่าใด ไฟล์ข้อมูลเก่าๆ หรือขยะในเครื่องก็จะเพิ่มพูนมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งวิธีการง่ายๆ ในการกำจัดไฟล์ขยะเหล่านี้ก็คือการใช้ยูทิลิตี้ Disk Cleanup ของวินโดว์สหรือจากออปชันทำความสะอาดไฟล์ในโปรแกรม IE โดยตรง (Tools -> Internet Options)
3. กำจัดขยะในซอกหลืบ
3. กำจัดขยะในซอกหลืบ
แม้ว่าคุณจะทำการลบไฟล์ขยะด้วยตัวเองไปแล้ว แต่ก็ยังอาจมีเศษขยะที่มองไม่เห็นตกค้างอยู่ในฮาร์ดด ิสก์ของคุณอีกมากมาย โดยเศษขยะในที่นี้หมายรวมถึงบรรดาสปายแวร์หรือแอดแวร์ต่างๆ ด้วย ซึ่งวิธีการตรวจสอบหาขยะเหล่านี้จำเป็นต้องใช้เครื่อ งมือพิเศษคือโปรแกรมอย่างเช่น Ad-aware หรือ Spybot Search & Destroy ที่หาดาวน์โหลดได้ฟรีจากอินเทอร์เน็ต ที่สำคัญคืออย่าลืมอัพเดตฐานข้อมูลให้กับโปรแกรมดังกล่าวก่อนเริ่มทำการสแกนระบบด้วย
4. หมั่นใช้สแกนดิสก์
4. หมั่นใช้สแกนดิสก์
เมื่อใดก็ตามที่พื้นที่เก็บข้อมูลในฮาร์ดดิสก์เกิดบกพร่องเสียหาย เรามักจะใช้คำแทนจุดบกพร่องนั้นๆ ว่า "Bad Sector" ซึ่งมีความหมายว่าบริเวณพื้นผิวของจานแม่เหล็กเกิดความเสียหายจนไม่สามารถทำการอ่านข้อมูลได้ ซึ่งวิธีการแก้ไขนั้นคือการใช้ยูทิลิตี้ Scandisk ของวินโดว์สในการตรวจสอบหาจุดที่เกิด Bad Sector และย้ายข้อมูลที่อยู่ในบริเวณนั้นๆ ไปยังเซกเตอร์อื่นๆ ที่ปกติทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของไฟล์ข้อมูล โดยในหน้าต่างยูทิลิตี้ Scandisk นั้นให้คุณเลือกออปชัน Scan for and attempt recovery of bad sectors ด้วยก่อนเริ่มทำการสแกน
5. จัดเรียงข้อมูลให้เป็นระเบียบ
5. จัดเรียงข้อมูลให้เป็นระเบียบ
โปรแกรม Defragmenter ที่ไม่ต้องเสียเวลาหาให้ไกลเพราะมีอยู่ในวินโดว์สทุกเวอร์ชันแล้วนั้นจะช่วยในการจัดเรียงข้อมูลที่ถูกเขียนลงฮาร์ดดิสก์อย่างสะเปะสะปะให้มีระเบียบและเป็นชิ้นเป็นอันมากขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อให้หัวอ่านฮาร์ดดิสก์ไม่ต้องทำงานหนัก และใช้เวลาในการอ่านข้อมูลสั้นลง
6. เก็บทุกอย่างให้เข้าที่
6. เก็บทุกอย่างให้เข้าที่
ขั้นตอนนี้จะเรียกว่าเป็นวินัยส่วนตัวก็ว่าได้ เพราะไม่ว่าจะเป็นลิ้นชักตู้เสื้อผ้า หรือฮาร์ดดิสก์ ก็ล้วนต้องการระบบระเบียบในการจัดเก็บที่ดีด้วยกันทั้งนั้น ส่วนใครที่ยังเก็บไฟล์ทุกชนิดทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นไฟล์เวิร์ด ไฟล์รูปภาพ ไฟล์วิดีโอ ไฟล์เพลง ฯลฯ ปนกันมั่วไว้ในโฟลเดอร์เดียวกัน เตรียมตัวเตรียมใจกับเรื่องปวดหัวในการค้นหาไฟล์เมื่อต้องการใช้งานให้ดี แต่ถ้าไม่อยาก ... ก็สละเวลาจัดการจัดไฟล์ลงโฟลเดอร์ให้เรียบร้อยเสียตั้งแต่วันนี้นะคะ
7. แบ็กอัพข้อมูล
7. แบ็กอัพข้อมูล
ไม่มีฮาร์ดดิสก์รุ่นไหน ยี่ห้อใด ที่จะมีอายุยืนยาวอยู่กับคุณไปตลอดกาล แต่ถึงแม้ในที่สุดฮาร์ดดิสก์ของคุณจะหมดอายุขัย ก็ไม่ได้หมายความว่าข้อมูลทั้งหมดที่เก็บอยู่ในนั้นจ ะสูญหายไปด้วย เพียงแต่สิ่งที่คุณควรต้องหมั่นทำเป็นกิจวัตร ก็คือการแบ็กอัพไฟล์ข้อมูลสำคัญๆ เก็บไว้ในแผ่นซีดี ดีวีดี ทัมป์ไดรฟ์ ฯลฯ
8. เทขยะอย่าให้เหลือไฟล์ตกค้าง
8. เทขยะอย่าให้เหลือไฟล์ตกค้าง
เมื่อ คุณกดปุ่ม Delete เพื่อลบไฟล์ ซึ่งในทางปฏิบัติดูเหมือนว่าไฟล์ข้อมูลของคุณจะถูกลบออกไป แต่ในทางทฤษฎีนั้นไฟล์ของคุณจะยังไม่ถูกลบออกไปจริงๆ วินโดว์สจะนำไฟล์ที่คุณลบไปใส่ไว้ในถังขยะ (Recycle Bin) เผื่อกรณีที่คุณเกิดเปลี่ยนใจหรือตัดสินใจพลาด หากใครช่างสังเกตจะพบว่าแม้จะลบไฟล์ข้อมูลไปแล้วแต่พื้นที่ว่างในอาร์ดดิสก์นั้นไม่ได้เพิ่มขึ้นแต่อย่างใ ด ดังนั้นหากคุณมั่นใจว่าไม่ใช้งานแล้ว หรือไม่ต้องการให้ใครมาแอบคุ้ยถังขยะเอาข้อมูลส่วนตัวของคุณไป แนะให้คลิกขวาที่ไอคอน Recycle Bin แล้วเลือกคำสั่ง Empty Recycle Bin เพื่อกำจัดขยะในถังให้สิ้นซาก
9. แบ่งพาร์ทิชันเพื่อเก็บข้อมูล
9. แบ่งพาร์ทิชันเพื่อเก็บข้อมูล
ฮาร์ดดิสก์ โดยทั่วไปที่ออกมาจากโรงงานนั้นจะไม่มีการ แบ่งพาร์ทิชันเอาไว้ หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ คือซื้อ 160GB ก็จะได้ไดรฟ์ C: ความจุ 160GB มาใช้งาน แต่ถ้าจะให้ดี แนะนำให้คุณทำการแบ่งฮาร์ดดิสก์ออกเป็นส่วนๆ หรือที่เรียกว่าการแบ่งพาร์ทิชันนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น ฮาร์ดดิสก์ 160GB นำมาแบ่งเป็น 2 พาร์ทิชัน พาร์ทิชันละ 80GB ซึ่งคุณก็จะได้ไดรฟ์มาใช้งาน 2 ไดรฟ์คือไดรฟ์ C: และไดรฟ์ D: ซึ่งการแบ่งพาร์ทิชันนอกจากจะช่วยลดภาระของหัวอ่าน และเพิ่มความเร็วในการทำงานของฮาร์ดดิสก์แล้ว คุณยังสามารถแยกไฟล์สำคัญๆ มาเก็บไว้ในไดรฟ์แยกต่างหากจากไดรฟ์ที่ติดตั้งวินโดว์สซึ่งอาจโดนไวรัสเล่นงานจนเสียหายได้อีกด้วย
10. เลือกความเร็วให้เหมาะกับงาน
10. เลือกความเร็วให้เหมาะกับงาน
วิธีการที่ผ่านมานั้นสามารถช่วยให้ฮาร์ดดิสก์ของคุณสามารถทำงานได้เร็วขึ้น อย่างไรก็ดี หากคุณกำลังมองหาหรือตัดสินใจซื้อฮาร์ดดิสก์ใหม่ แนะนำให้พิจารณาเลือกรุ่นความเร็วที่เหมาะสมกับลักษณะงานที่คุณต้องการใช้งาน เช่น เลือกรุ่นที่มีความเร็วในการหมุนจานแม่เหล็ก 5,400 RPM (รอบ/นาที) ที่มีราคาถูกถ้าคุณใช้เพียงโปรแกรมทั่วๆ ไปเช่น เล่นอินเทอร์เน็ต รับ-ส่งอีเมล์ หรือพิมพ์งานด้วยโปรแกรมเวิร์ด หรือถ้างานของคุณเกี่ยวกับการตกแต่งภาพถ่าย เล่นเกม ก็อาจเลือกซื้อรุ่น 7200 RPM หรืออาจจะเป็น 10,000 RPM เลยก็ได้หากทำงานประเภทตัดต่อวีดีโอเป็นหลัก ซึ่งฮาร์ดดิสก์ที่มีความเร็วในการหมุนจานแม่เหล็กสูง และมีขนาดของแคชภายในมากจะช่วยเพิ่มความเร็วในการทำงานให้กับคุณมากยิ่งขึ้น
เอาบทความนี้มาให้เพื่อนๆได้อ่านดูจ้า เผื่อจะได้ลองนำไปใช้ดูๆ น่าจะช่วยให้ฮาร์ดดิสก์ของเราทำงานเร็วขึ้นได้ ~^0^~
จิราพร(จูน)
เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์กับฮาร์ดดิสก์เราจัง จะนำไปใช้นะจ้า
ตอบลบOOTime AloneOO
กนกวรรณ (นิว)
ได้รู้วิธีดูแลรักษาเยอะเลย
ตอบลบขอบคุณมากครับแล้วจะนำไปใช้
พงศธร(พง)
ขอบคุณคร่า...
ตอบลบเพราะอย่างเราคงต้องใช้งานบ้างแหละ...
วิธีดูแลก็ง่ายแต่ไม่ค่อยได้สนใจเท่าไร...
แต่ตอนนี้จะเอาไปใช้เป็นความรู้ใหม่ๆนะจ๊ะ...
ขอบคุณสำหรับกระทู้ที่คอยห่วงใยจร้า
วิภารัตน์(แหม่ม)
ขอบคุณน่ะ เพราะเท่าที่ทำอยู่นี่ยังไม่ได้ครึ่งนึงที่จูนโพสต์เลย
ตอบลบจะลองเอาไปใช้ดูจ้า
ปวีณา (ปุ๋ย)
เป็นวิธีดูแลรักษาที่ดีนะครับ
ตอบลบจะได้ช่วยให้สามารถใช้ฮาร์ดดิสก์ไปได้นานๆ
ต้องเอาวิธีไปใช้มั่งแล้วเครื่องจะได้เร็วขึ้น
อติภัทร(แก๊ป)