วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ERP & EDI เหมือนกันหรือต่างกันตรงส่วนไหน ??? (ต่อ)

ERP ย่อมาจาก Enterprise Resource Planning หมายถึง เป็นการวางแผนการลงทุน และการใช้ทรัพยากรในองค์กรทั้งหมด อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด หรืออาจจะเรียกได้ว่า ERP เป็น เครื่องมือช่วยในการบริหารงานขององค์กร โดยรวมระบบงานหลักต่างๆ ทั้งหมดในบริษัท เข้าด้วยกัน เป็นระบบงานที่สัมพันธ์ต่อเนื่องกัน เชื่อมโยงกันแบบ Real time ทำให้สามารถบริหาร องค์กรได้อย่างเป็นระบบมีประสิทธิภาพ โดยข้อมูล ของระบบทุกส่วนจะอยู่ในส่วนกลางส่วนเดียวกัน ลดการซ้ำซ้อนของข้อมูล ไม่เกิดความขัดแย้งของข้อมูล รวมทั้งลดกระบวนการทำงาน ทำให้มีการใช้แรงงานและเวลาที่น้อยลง ซึ่งส่งผลให้เป็นการลดต้นทุนด้วย

ประโยชน์ในการนำ ERP มาใช้

เกิดการปฏิรูปการทำงาน
การเพิ่มประสิทธิภาพและความเหมาะสมให้กับกระบวนการทางธุรกิจ
การทำให้การบริหารงานได้รวดเร็ว ไวต่อเหตุการณ์
การลดลงของค่าใช้จ่ายโดยรวมขององค์กร

เกิดการปฏิรูปการบริหารธุรกิจ
ความสามารถในการรับรู้สภาพการณ์โดยรวมของการบริหารได้แบบเรียลไทม์
ความสามารถในการปรับเปลี่ยนเพื่อให้องค์กรโดยรวมมีประสิทธิภาพสูงสุด
ความสามารถในการตัดสินใจได้รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์

เกิดการปฏิรูปวัฒนธรรมและวิถีขององค์กร
การเป็นตัวเองและความกระตือรือร้นของพนักงาน
การใช้ความสามารถของพนักงานให้เกิดผลสำเร็จ
การใช้ความคิดสร้างสรรค์ของพนักงานในการบริหารองค์กรให้เกิดผลสำเร็จ

ERP จะเน้นรวมทุกเรื่อง ตั้งแต่การวางแผนทางธุรกิจ การพยากรณ์ ระบบวิศวกรรม ระบบการเงินและการบัญชี เช่น ระบบบัญชีค่าจ้าง ระบบบัญชีเจ้าหนี้ ระบบบัญชีลูกหนี้ เป็นต้น และระบบ ERP ช่วยในการจัดการธุรกิจโรงงานอุตสาหกรรม

EDI จะเน้นการเปลี่ยนแปลงเอกสารข้อมูลเอกสารต่างๆ ที่ไม่ยุ่งยาก และเสียเวลา ระบบ EDI เข้ามาช่วยการจัดการจากแผ่นกระดาษเป็นเอกสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์ช่วยองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ใบสั่งซื้อ (Purchase Order) ใบแจ้งหนี้ (Invoice) ใบเสนอราคา (Quotation) เป็นต้น และเป็นกลยุทธ์เพื่อความอยู่รอดในสังคมธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์โลก โดยสามารถช่วยลดค่าโสหุ้ยได้

credit: http://www.logisticafe.com

หลังจากที่ได้โพสตอนแรกกันไปแล้ว สำหรับในส่วนของ EDI คราวนี้มาว่ากันต่อด้วยเรื่องของ ERP (หายไปนานมาก) ถ้าใครจำไม่ได้ให้เข้าไปดูตอนแรกได้ที่ http://sasdkmitl09.blogspot.com/2009/07/erp-edi.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น