อารมณ์ขันบำบัดสุขภาพใจ
อารมณ์ขันบำบัด
หลังจากนั้น มีการศึกษาเรื่องอารมณ์ขัน ช่วยบำบัดอาการป่วยอย่างกว้างขวาง จนทุกวันนี้ ความสนใจเรื่องผลกระทบ จากอารมณ์ขันรุดหน้าไปมาก และจัดเป็นความรู้หนึ่งในสาขา Psychoneuro-immunology ซึ่งศึกษาเรื่องปัจจัยทาง จิตวิทยา สมอง และระบบภูมิชีวิตที่ตอบสนองต่อสุขภาพ
ในอินเดียถึงขนาดมีการตั้ง "ชมรมหัวเราะ" ซึ่งผู้ป่วยแต่ละคน จะมาพูดคุยและหัวเราะกันในตอนเช้า ข่าวว่ากิจการ ของชมรมได้ผลดีมาก จนกระทั่งดังพอๆ กับชมรมโรตารี่ของอเมริกาเชียวละ
การหัวเราะเป็นภาษาสากล และเป็นการติดต่อทางอารมณ์ด้วย (สังเกตดูว่าเวลาเห็นคนอื่นหัวเราะ คุณมักจะ หัวเราะตาม) การหัวเราะเป็นความสนุกสนานโดยธรรมชาติ ทำให้ผู้คนหันหน้าเข้าหากันพูดคุยกัน ทำลายกำแพงเฉพาะตัว และที่ดีที่สุดคือ การหัวเราะไม่มีผลข้างเคียง ที่ทำความเสียหายใดๆ ต่อร่างกายเลย
มาดูว่าอารมณ์ขันและการหัวเราะ มีผลอย่างไนต่อร่างกายเรา (จากหลักฐานที่มีการพิสูจน์แล้ว)
| • | ความดันโลหิตลดลง |
| • | ฮอร์โมนเกี่ยวกับความเครียดลดลง ขณะเดียวกันการทำงานของฮอร์โมนต่างๆ ก็เป็นปกติ |
| • | กระตุ้นระบบภูมิชีวิต (Immune system) ทำให้ T-celll ซึ่งเป็นทหารประจำตัว คอยกำจัดเชื้อโรคเพิ่มจำนวนขึ้น รวมถึงแอนติบอดีอื่นๆ ในร่างกายด้วย |
| • | คลายความเจ็บปวด อารมณ์ขันทำให้ผู้ป่วยลืมความเจ็บปวด และยังกระตุ้นการสร้างเอนดอร์ฟินในร่างกาย ซึ่งเป็นฮอร์โมนระงับปวดโดยธรรมชาติอยู่แล้ว |
| • | กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลาย ขณะที่คุณหัวเราะ กล้ามเนื้ออื่นๆ ที่ไม่ได้สัมพันธ์กับการหัวเราะ จะผ่อนคลาย และเมื่อ หยุดหัวเราะ กล้ามเนื้อที่สัมพันธ์กับการหัวเราะ ก็จะผ่อนคลาย เป็นการทำงานสองขั้นตอนเชียวนะ |
| • | หายใจดีขึ้น การหัวเราะบ่อยๆ ทำให้ปอดโล่ง หายใจได้ลึกขึ้นดีมากๆ สำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องการหายใจ |
นอกจากนี้ การหัวเราะทำให้เรารู้สึกดีกับการมีชีวิตอยู่ คนที่สามารถสร้างอารมณ์ขัน และหัวเราะได้ ในยามที่ต้อง เผชิญสถานการณ์ที่เลวร้าย เช่น ป่วยด้วยโรคร้ายแรงอย่างมะเร็ว เป็นต้น นับว่าเป็นความกล้าหาญ และจะทำให้ผู้นั้น รู้สึกถึงพลังในตัวเอง นอกจากให้ผลดีทางกาย อย่างที่กล่าวแล้วข้างต้น ผู้ป่วยยังคลายความเศร้าหมอง และช่วยเปิดทัศนคติในการมองโลก ด้วยแง่มุมที่กว้างขึ้น และเป็นไปในทางบวก
ทันทีที่คุณคิดถึงเรื่องโจ๊ก ตลกโปกฮา สมองซีกซ้ายจะเริ่มทำหน้าที่ คิดวิเคราะห์จัดสรรถ้อยคำ ต่อมาสมองส่วนหน้า ซึ่งเป็นศูนย์กลางของอารมณ์ จะเริ่มตอบสนองโดยพลัน ชั่วครู่สมองซีกขวา จะร่วมปะติดปะต่อเรื่องราวพริบตาเดียว คลื่นสมองจะเพิ่มขึ้น และแพร่ขยายไปทั่วบริเวณของสมอง ก่อนที่จะเล่าเรื่องโจ๊กนั้นออกมาเสียอีก แล้วในที่สุด ก็ระเบิดเป็นการหัวเราะนั่นเอง
อารมณ์ขัน จึงทำให้สมองแทบทุกส่วน ได้ทำงานประสานกันยิ่งกว่ากิจกรรมหลายๆ อย่างที่ทำกันเสียอีก ฉะนั้น เวลาไปเยี่ยมคนไข้ครั้งต่อไป แทนที่จะมัวจับเจ่า พาให้คนไข้เศร้าไปด้วย โดยไม่ได้ประโยชน์อะไร จงเปลี่ยนมาหัวเราะ ร่วมกับเขาดีกว่า ถึงใครจะว่าผิดกาลเทศะ แต่คู้รู้นี่ว่า คนไข้กำลังได้รับยาวิเศษ
ขอขอบคุณ
แหล่งข้อมูล : www.ku.ac.th/e-magazine - นิตยสารเกษตรศาสตร์ ฉบับที่ 20 กุมภาพันธ์ 2545
การหัวเราะ หรือ ยิ้ม เคยได้ยินมาว่า
ตอบลบทำให้แก่ช้าลง หรือ เป็นการชะลอความแก่
หุหุ
พิมพ์ภัทรา (สายป่าน)
มาหัวเราะกันจะได้อารมณ์ดีสุขภาพดี
ตอบลบและอะไรดีจะตามมา...
ณัฐพล(ท๊อป)
หัวเราะนี่ดีจริงๆเลย
ตอบลบแต่อย่าหัวเราะมากไปนะ
เดี๋ยวคนอื่นจะหาว่าบ้า
พรรณราย (แมม)
เออ...
ตอบลบเราเองก็หัวเราะทุกวัน ตลอดเวลา
อย่างนี้เราก็สุขภาพจิตดีล่ะซิ
และก็บ้าด้วย อิอิ
วันนิดา(ต๊อบ)
ในบางครั้งที่เครียดๆ
ตอบลบหากเราไม่ได้พูดหรือแสดงออกให้คนอื่นรู้
แต่กลับทำเป็นเฮฮา หัวเราะ อารมณ์ขัน ยิ้มแย้มแจ่มใสกับคนอื่น
หรือทำใจให้ปลง หัวเราะให้กับปัญหานั้น
บางทีการทำแบบนี้มันก็อาจทำให้เราลืมความรู้สึกไม่ดีที่มีอยู่ไปได้
อย่างน้อยอารมณ์ขุ่นเคือง มันก็ไม่ต้องไปตกที่คนอื่น และงานที่เราต้องทำ
เอิ่กๆ พร่ำไรเนี่ย เยอะไปป่าว อิอิ
ปวีณา (ปุ๋ย)
แต่ตอนใกล้สอบหรือตอนรู้ คะแนนจะหัวเราะไม่ออกทุกที
ตอบลบฮือฮือ
นัฐญา (นัท)
"สังเกตดูว่าเวลาเห็นคนอื่นหัวเราะ คุณมักจะ หัวเราะตาม" อันนี้จิงๆอะ ^^ เวลาเห็นเพื่อนหัวเราะฮากัน บางครั้งยังไม่รู้ว่าขำเรื่องไรเลย ก็หัวเราะตามแระ เหมือนติดต่อกันได้เลยอะ 555+
ตอบลบการหัวเราะทำให้เรารู้สึกดีกับการมีชีวิตอยู่จริงๆแหละ ทำให้โลกดูสดใสขึ้น แล้วก็ได้ผ่อนคลายด้วย >__<
จิราพร(จูน)