วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2552

ย้อยวันวาน " การสื่อสารไทย "

































ย้อนวันวาน "การสื่อสารไทย"




































เมื่อวันที่ 4 ส.ค. 2552 นับเป็นวันสำคัญของวงการสื่อสารไทย คือวัน "การสื่อสารแห่งชาติ" การสื่อสารเริ่มเข้ามามีบทบาทต่อประเทศไทยในสมัย รัชกาลที่ 3 ในช่วงที่บ้านเมืองปลอดจากภัยสงคราม

จากเหตุการณ์สายการบินบางกอกแอร์เวย์สลื่นไถลรันเวย์ เมื่อวันที่ 4ส.ค.2552 ซึ่งในวันเดียวกันนี้ ก็มีวันสำคัญของไทยอีกวันหนึ่งแฝงอยู่ด้วย นั้นคือ "วันสื่อสารแห่งชาติ" การสื่อสารเริ่มเข้ามามีบทบาทต่อประเทศไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ช่วงที่บ้านเมืองปลอดจากภัยสงคราม การเมืองภายในประเทศมีเสถียรภาพมั่นคง โดยวัตถุประสงค์ของการสื่อสารในยุคนั้น ก็เพื่อนำมาสนับสนุนกิจการด้านงานความมั่นคงของประเทศ ซึ่งยุคนั้นเรียกได้ว่า เป็นยุคเริ่มล่าอาณานิคมของชาติมหาอำนาจทั้งอังกฤษและฝรั่งเศส ต่างแย่งชิงผลประโยชน์ในภูมิภาคนี้ด้วยกัน และอารยะธรรมตะวันตกเริ่มหลั่งไหลเข้ามาสู่ภูมิภาคเอเชียอาคเนย์


การติดต่อข่าวสารกันของมนุษย์ในสมัยโบราณมีวิธีการที่หลากหลายตามยุคสมัย เริ่มที่การสื่อสารที่เรียกว่า "ม้าเร็ว" นี้ นับว่าดีทีเดียว คือไม่ล่าช้า ทั้งยังส่งข่าวได้ทันใจ ซึ่ง ชาวจีนโบราณมีการพัฒนาระบบการส่งข่าวทางไกลให้ คล่องตัวตลอดมา โดยระบบเฟื่องสุดขีดในช่วงที่มองโกลมาจัดการ แต่จริงๆ แล้วมีการพัฒนากันมานานก่อนหน้านั้นเป็น 100 ปี ต่อมาเกิด "นกพิราบสื่อสาร" ขึ้นระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 การสื่อสารระหว่างทหารที่ออกรบในสมรภูมิกับศูนย์บัญชาการ เป็นเรื่องที่ค่อนข้างลำบาก ถ้าจะใช้ทหารเดินเท้าในการส่งข่าว ไหนจะต้องหลบหลีกให้พ้นสายตาข้าศึก และต้อง เผชิญอุปสรรคนานัปการ ทั้งภูมิอากาศและภูมิประเทศที่กันดาร นกพิราบสื่อสาร จึงถูกนำมาใช้ในการส่งข่าวสารจากสมรภูมิกลับสู่บ้านเกิด ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองบัญชาการ


ส่วนโรมันมีระบบที่ละเอียดซับซ้อนในการติดต่อส่งข่าวสารเช่นเดียวกัน เรียกเป็นภาษาโรมันว่า "เคอร์ซัส พับลิคัส" ระบบของโรมันนี้นับว่าฉลาดไม่น้อย คือใช้แบบส่งเป็นทอด หรือวิ่งผลัด ซึ่งทำให้ การส่งข่าวสารผ่านตลอดทั่วแดนได้โดยง่าย มีความสะดวก คล่องตัวขึ้น รวมทั้งมีการตรวจ ตราอย่างเข้มงวด มีเครือข่ายโยงใยในระบบตรวจสอบของรัฐ ซึ่งจะการันตีเรื่องความแม่นยำ และ ความน่าเชื่อถือในเรื่องของหลวงได้ดีด้วย แม้ตอนที่อาณาจักรโรมันแตก ระบบเคอร์ซัส พับลิคัส นี้ยัง ยืนหยัดใช้กันอยู่

จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงเจริญรอยตามพระราชบิดาในการปฏิรูปประเทศ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มหากษัตริย์ผู้วางรากฐานกิจการสื่อสารโทรคมนาคมของประเทศไทย พระองค์ทรงเห็นความสำคัญของการสื่อสารว่าเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาประเทศ และเพื่อบำบัดทุกข์ราษฎรในพื้นที่ห่างไกล ตลอดจนสนับสนุนงานด้านความมั่นคงของชาติ แรกทีเดียวนั้นการสื่อสารอยู่ในรูปไปรษณีย์พิเศษ ซึ่งเป็นหนังสือที่จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่ในบบพระบรมมหาราชวัง และเขตบบพระนครชั้นใน โดย สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภานุรังษีสว่างวงศ์ และเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2424 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภานุรังษีสว่างวงศ์ เป็นผู้ก่อตั้งการไปรษณีย์


"กรมไปรษณีย์" ถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 4 สิงหาคม 2426 มีที่ทำการไปรสะนียาคารแห่งแรก ที่ ปากคลองโอ่งอ่าง ตำบลราชบูรณะ และอาคารในพระราชอุทยานสราญรมย์ "กิจการโทรเลข" ถือเป็นเทคโนโลยีโทรคมนาคมอันทันสมัยรวดเร็วที่สุดในยุคนั้น นับตั้งแต่มีการวางสายโทรเลขเป็นครั้งแรก ใน พ.ศ. 2418 กรุงเทพฯ ไป สมุทรปราการ เพื่อใช้ในงานราชการ และเปิดให้บริการสำหรับประชาชนเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2426 อัตราค่าบริการ "คำละ 1 เฟื้อง" ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งขึ้นเป็น "กรมโทรเลข" อีกกรมหนึ่ง และมีสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภานุรังษีสว่างวงศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการกรมโทรเลขอีกตำแหน่งหนึ่ง จากนั้นกลาโหมได้เริ่มมีการนำโทรศัพท์เข้ามาและมอบให้กรมโทรเลขดูแลต่อ


นายขจรศักดิ์ สิงหเสนี รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ (สายงานกลยุทธ์องค์กร) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัจุบันโทรเลขยุติการใช้งานไปอย่างเป็นทางการทั่วประเทศแล้ว เมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2551 รวมระยะเวลาในการให้บริการมากว่า 133 ปี (พ.ศ. 2418-พ.ศ. 2551)สาเหตุเพราะทนแบกรับค่าใช้จ่ายเดือนละ 25 ล้านบาท เพื่อจ้างบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ให้เป็นผู้ให้บริการไม่ไหว ทั้งเป็นกิจการที่ไม่ทำกำไรและมีผู้ใช้บริการโทรเลขลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา บริการโทรเลขเคยมียอดผู้ใช้สูงสุดอยู่ที่ปีละ 3 ล้านฉบับ หรือเฉลี่ยเดือนละ 2.5 แสนฉบับ แต่ปัจจุบันมียอดใช้งานวันละไม่ถึง 100 ฉบับ หรือประมาณปีละ 4,000 ฉบับ และมีรายได้เพียงเดือนละ 5,000 บาท โดยข้อความในโทรเลขส่วนใหญ่เป็นจดหมายทวงหนี้


ในยุคปัจจุบันการสื่อสารถูกพัฒนาเพื่อให้ทันกับโลกยุคโลกาภิวัฒน์ การส่งจดหมายรูปแบบเดิมๆ ถูกปรับเปลี่ยนไป เป็นรูปแบบของอี-เมล์ (E-Mail) คือ ไปรษณีย์อีเลคโทรนิคส์ เป็นเครื่องมือสำหรับติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายที่เรียกว่า "อินเทอร์เน็ต" ด้วยวิธีการส่งข้อความไปหาผู้อื่น ไปยังผู้รับปลายทาง และสามารถทำการแนบไฟล์เอกสาร หรือรูปภาพต่างๆ เพื่อส่งไปยังปลายทางได้อีกด้วย จึงทำให้เพิ่มความ สะดวกสบายได้มากขึ้น











อีกหนึ่งการสื่อสารของไทย คือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญมากขึ้น ล่าสุดโทรคมนาคมของไทยกำลังจะพลิกหน้าใหม่ เมื่อคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ประกาศหลักเกณฑ์บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 ส.ค. 2552 รอเพียงผู้ประกอบการที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เสนอแผนปฏิบัติ สำหรับการคงสิทธิ์เลขหมาย คือการที่ผู้บริโภคหรือผู้ใช้โทรศัพท์มือถือสามารถเปลี่ยนบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์ ซึ่งคาดว่าไม่เกินเดือน พ.ย.-ธ.ค.นี้ จะเปิดให้บริการได้ และยังไม่รวมถึงบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุคที่ 3 หรือ 3G ที่จะเกิดขึ้นในช่วงราวต้นปี 2552 นี้ด้วย








บทความจาก : ไทยรัฐ

7 ความคิดเห็น:

  1. เสียดายโทรเลข

    ยังไม่เคยใช้เลย

    มีข่าวว่ากิจการไปรษณีย์ในสหรัฐก็ขาดทุนมากมายมหาศาล

    ในอนาคตจะเลิกใช้ไปรษณีย์มั้ยเนี่ย

    ตอบลบ
  2. การสื่อสารเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ เลย

    ยิ่งสื่อสารกันได้รวดเร็วและเข้าใจมากขึ้นเท่าไหร่

    ก็ยิ่งได้เปรียบในการแข่งขันมากขึ้น

    ถ้ามองอีกมุมหนึ่งก็จะพบว่าการสื่อสารที่รวดเร็วและแม่นยำ

    ถ้านำไปใช้ในทางที่ดี ก็จะเป็นประโยชน์ อย่างมากมายมหาศาล

    อย่างน้อย วันนี้เราก็ได้อ่าน blog ที่เพื่อนๆ คัดสรรแต่สิ่งดีๆ มาให้อ่านกัน

    อาท(เกรียงไกร) ^_^'

    ตอบลบ
  3. อย่าให้ไปรษณีย์เลือกทำการเลย

    ตอนนี้เรายังส่งโปสการ์ดอยู่

    -..-

    นัฐญา (นัท)

    ตอบลบ
  4. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  5. โทรศัพท์มือถือนี่พัฒนาไปได้เร็วมากเลยอะ

    จำได้ว่าเมื่อตอนเด็กๆโทรศัพท์มือถือยังอันบะเริ่มอยู่เลย มาตอนนี้เหลืออันนิดเดียวเอง แถมยังอำนวยความสะดวกได้ตั้งหลายอย่าง

    การสื่อสารนี่ ยิ่งมีการพัฒนาต่อไปมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งสร้างประโยชน์ให้แก่มนุษย์ได้มากมายเลยทีเดียว ^^

    ตอบลบ
  6. มะกี้ลืมชื่ออะ =*=

    จิราพร(จูน)

    ตอบลบ
  7. บางทีอะไรที่มันเปลี่ยนแปลงไปเร็วๆเกินไป

    มันก็ไม่ดีเหมือนกันนะ

    สื่อแต่ละประเภทก็เหมาะกับการสื่อสารคนละแบบ

    อีเมล์ก็ยังคงไม่สามารถที่จะทดแทนจดหมายและโปสการ์ดได้นะ

    ในความรู้สึกของเรา

    พรรณราย (แมม)

    ตอบลบ