ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป จะส่งผลให้ "ซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งอนาคต" ซึ่งเกี่ยว ข้องกับชีวิตประจำวันของคนทั่วโลกพลิกโฉมหน้าไปทางไหน วันนี้มีข้อมูลประเมินสถานการณ์บางส่วนมาบอกต่อ!
1. ขนาดเล็กลง
ในอนาคต ขนาดซูเปอร์มาร์ เก็ต หรือห้างค้าปลีกต่างๆ จะเล็กลง และมียักษ์ใหญ่หลายเจ้าเริ่มต้นเดินตามกลยุทธ์นี้แล้ว เพื่อเจาะ กลุ่มลูกค้าให้ชัดเจนขึ้น
เช่น ห้างมาร์เก็ตไซด์ของวอล มาร์ต ห้างเดอะมาร์เก็ตของเซฟเวย์ ห้างเฟรชแอนด์อีซี่ของเทสโก้ ซึ่งเน้นขายผลิตภัณฑ์สดใหม่ รวม ถึงอาหารกล่องพร้อมรับประทาน และสินค้าเพื่อสุขภาพและเกษตรอินทรีย์
เบื้องหลังความคิดนี้เพื่อเจาะตลาดลูกค้าในกลุ่มเมืองใหญ่ที่มีประชากรหนาแน่น และดึงให้มาใช้บริการจับจ่ายใช้สอยทุกวัน
เช่น ห้างมาร์เก็ตไซด์ของวอล มาร์ต ห้างเดอะมาร์เก็ตของเซฟเวย์ ห้างเฟรชแอนด์อีซี่ของเทสโก้ ซึ่งเน้นขายผลิตภัณฑ์สดใหม่ รวม ถึงอาหารกล่องพร้อมรับประทาน และสินค้าเพื่อสุขภาพและเกษตรอินทรีย์
เบื้องหลังความคิดนี้เพื่อเจาะตลาดลูกค้าในกลุ่มเมืองใหญ่ที่มีประชากรหนาแน่น และดึงให้มาใช้บริการจับจ่ายใช้สอยทุกวัน
2. เจาะกลุ่มเชื้อชาติ
การขายของแบบจับฉ่ายอาจเพิ่มต้นทุนสูงโดยไม่จำเป็น
ซูเปอร์มาร์เก็ตในอนาคตจะเปิดเพื่อรองรับลูกค้ากลุ่มหนึ่งกลุ่มใดโดยเฉพาะตามจำนวนประชากรแต่ละเชื้อชาติในชุมชนที่เพิ่มขึ้น
ซูเปอร์มาร์เก็ตในอนาคตจะเปิดเพื่อรองรับลูกค้ากลุ่มหนึ่งกลุ่มใดโดยเฉพาะตามจำนวนประชากรแต่ละเชื้อชาติในชุมชนที่เพิ่มขึ้น
เช่น ในสหรัฐอเมริกา ห้างวอลมาร์ตลงทุนเปิดร้านซูเปอร์ เมอร์คาโดและพับลิกซ์เซเบอร์ วางจำหน่ายสินค้าสไตล์ละติน อเมริกาเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นข้าวปลาอาหาร เครื่องดื่ม เบเกอรี่ และมีพนักงานที่พูดภาษานั้นๆ ได้ คอยให้คำแนะนำ
3. เน้นอาหารชุด
บริการจัด "อาหารชุด" ที่มีความสดใหม่จะเพิ่มความนิยมขึ้นตามลำดับ
เหมาะสำหรับซื้อไปอุ่นรับประทานที่บ้าน ซึ่งมีสมาชิก 6 คนขึ้นไป หรือจัดปาร์ตี้เล็กๆ
และอาหารสำเร็จรูปแปลกๆ จะมีให้เห็นมากขึ้น อาทิ "ไก่กระป๋องทั้งตัว" ซึ่งต้มสุกแล้ว เปิดออกมาเทประกอบอาหารได้เลย
4. บรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ
นักวิทยาศาสตร์หลายสำนักต่างให้ความสนใจพัฒนา "บรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ" ซึ่งแจ้งเตือน-บอกวันหมดอายุของสินค้าข้างในได้ถูกต้อง
ในวันข้างหน้า บรรจุภัณฑ์เหล่านี้จะกลายเป็นมาตรฐานประจำซูเปอร์มาร์เก็ต เพื่อเพิ่มความอุ่นใจให้ผู้บริโภค
ตัวอย่างของเทคโนโลยีนี้ เช่น ปัจจุบันนักวิจัยมหาวิทยาลัยโรดส์ไอส์แลนด์ และบริษัทไซราเทคโนโลยี สหรัฐ กำลังพัฒนา "บาร์โค้ด" บนกล่องสินค้าที่จะเปลี่ยนเป็น "สีแดง" เมื่อถึงวันหมดอายุและทำให้เครื่องเก็บเงินสแกนบาร์โค้ดไม่ได้
5. รถเข็นปลอดเชื้อ
ในยุคสมัยที่ทั่วโลกสุ่มเสี่ยงต่อโรคระบาด มีธุรกิจหัวแหลมนำเสนอ นวัตกรรมใหม่แก่ผู้บริหารซูเปอร์มาร์เก็ตทั้งหลาย
นั่นคือ เครื่องทำความสะอาดรถเข็น "เพียวคาร์ต ซิสเต็มส์" ซึ่งเมื่อเข็นรถเข็นผ่านเข้าไป ตัวเครื่องจะพ่นน้ำ น้ำยาเพอร็อกไซด์ และน้ำส้มสายชูอ่อนๆ เพื่อฆ่าเชื้อ
ระบบที่ว่านี้มีราคา 3.5 แสนบาท แต่ผู้ผลิตบอกว่าในระยะยาวคุ้มค่ากว่าการเสียเงินจ้างพนักงานคอยเอาน้ำยาฆ่าเชื้อเช็ดรถทีละคัน และช่วยทำให้สร้างความรู้สึกว่าร้านค้าใส่ใจสุขภาพลูกค้ามากขึ้น
6. สินค้าใส่ใจโลก
กระแสสินค้าพะยี่ห้อใส่ใจสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการรีไซเคิล และปลอดสารเคมี จะยิ่งได้รับความนิยม
ส่งผลให้ซูเปอร์มาร์เก็ตแต่ละค่ายต้องผลิตสินค้ากลุ่มนี้ออกมาจำหน่ายโดยเฉพาะในร้านตัวเอง
ขณะนี้ร้านเซฟเวย์ของสหรัฐ ก็จำหน่ายผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ทั้งน้ำยาซักผ้าสูตรธรรมชาติ และอาหารที่ผลิตตามมาตรฐานกระบวนการเกษตรอินทรีย์ เช่น ซีเรียล ซอส และขนมนมเนย
7. รถเข็นคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ พร้อมระบบ สื่อสารไร้สาย จะกลายเป็นอุปกรณ์มาตร ฐานที่ติดตั้งอยู่กับรถเข็น
เวลาเข็นรถผ่านล็อกต่างๆ ข้อมูลโปรโมชั่น ณ จุดนั้น เช่น สินค้าลดราคาจะปรากฏบนหน้าจอคอมพิวเตอร์และกดค้นหาจุดวางสินค้า นอกจากนี้ ลูกค้ายังหยิบสินค้ามาสแกนดูราคา ตรวจสอบแหล่งที่มาวันผลิต วันหมดอายุ และรายละเอียดอื่นๆ โดยละเอียด
คอมพิวเตอร์ยังจะประมวลราคาสินค้าที่ต้องการซื้อทั้งหมด ช่วยให้ขั้นตอนจ่ายเงินรวดเร็วขึ้น
8. "อี-คูปอง"
คูปองลดแลกแจกแถมชนิดพิมพ์บนแผ่นกระดาษจะลดน้อยลง
แต่จะโผล่มาปรากฏบนหน้าจอ "โทรศัพท์มือถือ" แทน หรือเรียกว่า "อิเล็กทรอนิกส์ คูปอง" (อี-คูปอง)
เมื่อต้องการรับส่วนลดเพียงแสดงคูปองส่วนลดที่ส่งผ่านมือถือให้แคชเชียร์ดู
9. ตรวจสินค้าด้วยมือถือ
ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่บางแห่งในญี่ปุ่นและเยอรมนี เริ่มทดลองเปิดให้บริการสแกน-ตรวจสอบรายละเอียดสินค้าผ่านโทรศัพท์มือถือของลูกค้าเอง
วิธีการก็คือ ลูกค้านำกล้องมือถือ ซึ่งลงทะเบียนเปิดใช้บริการเรียบ ร้อยแล้วไปจ่อถ่ายภาพ "บาร์โค้ด" ของสินค้าในห้างที่ร่วมโครงการ
จากนั้นระบบจะประมวลผลและแสดงข้อมูลให้รับทราบทันที
10. แท็ก "อาร์เอฟไอดี"
ป้ายหรือแท็ก รับ-ส่ง คลื่นสัญญาณวิทยุอัจฉริยะ "อาร์เอฟไอดี" (RFID) จะช่วยให้การเช็กสต๊อกสินค้า รวมถึงการจำหน่ายสินค้าเป็นไปด้วยความรวดเร็ว
เพราะแท็กชนิดนี้ สามารถเพิ่มประสิทธิ ภาพการบริหารจัดการ "คลังสินค้า" ให้เป็นไปโดยอัตโนมัติ
ลดเวลาการนับสินค้าและวางแผนสินค้ากำหนดจำนวนคงคลังอย่างแม่นยำด้วยการนำเอา "ยอดขาย" มาคำนวณเปรียบเทียบ
11. สังคมช็อปปิ้งออนไลน์
ซูเปอร์มาร์เก็ตจำนวนมากเริ่มหันมาใช้ "เว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์" อาทิ ทวิตเตอร์ และเฟซบุ๊ก รวมทั้งจัดตั้งเว็บล็อก ขึ้นมาทำการตลาดโดยเฉพาะ เพื่อสร้าง "ฐานสมาชิก" ในโลกอินเตอร์เน็ต
เมื่อเข้ามาในเว็บเหล่านี้ ผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องเดินทางไปถึงร้าน แต่รับทราบข้อมูลโปรโมชั่นใหม่ๆ ตลอดเวลา และยังสามารถอ่านกระทู้ วิพากษ์วิจารณ์คุณภาพสินค้าที่คนอื่นๆ เขียนทิ้งไว้ได้ด้วย
เว็บที่โดดเด่นในกลยุทธ์นี้มากในสหรัฐ คือ www.zeer.com
อีกไม่ช้าไม่นาน สังคมช็อปปิ้งออนไลน์นี้จะยิ่งทวีความนิยม เมื่อรุกคืบเข้าสู่โทรศัพท์มือถือ
12. ผลิตภัณฑ์สัตว์เลี้ยง
ในขณะที่อาหาร-สินค้าสำหรับคนต่างต้องตัดราคา แข่งกันทำยอด
แต่ตลาด "ผลิต ภัณฑ์เพื่อสัตว์เลี้ยง" กลับส่อแววไปได้ดี
โดยเฉพาะอาหารสุนัขและแมว ซึ่งผลิตตามขั้นตอนธรรม ชาติ ไม่ปรุงแต่งด้วยสารเคมี
13. โฆษณาบนสายพาน
อีกปรากฏการณ์ที่ลูกค้ามีแนวโน้มจะพบเห็นในซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วโลกบ่อยขึ้นตามลำดับ ได้แก่
ป้ายโฆษณาที่พิมพ์ติดอยู่กับ "สายพาน" ตรงเคาน์เตอร์คิดเงิน ซึ่งง่าย ต่อการมองเห็น
และบรรดาซูเปอร์มาร์เก็ตย่อมไม่ปล่อยให้พื้นที่เด่นนี้อยู่ว่างๆ โดยไม่ สร้างรายได้
14. สินค้า"โต"ระหว่างขนส่ง
ความคลั่งไคล้สินค้าจำพวก "ใหม่สดเสมอ" ทำให้นักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยวาเคนนิงเกิ่น ประเทศเนเธอร์แลนด์ พัฒนาวิธีการขนส่งสินค้าประเภท "พืชผัก" ชนิดใหม่
ออกแบบให้ผักต่างๆ เช่น เห็ด ค่อยๆ เจริญเติบโตไประหว่างขั้นตอน การขนส่ง
เมื่อไปถึงจุดขายก็โตเต็มที่เหมาะแก่การบริโภคพอดี
อย่างไรก็ตาม ต้องลุ้นกันต่อไปว่าจะต่อยอดให้แนวคิดนี้เป็นจริงในทางปฏิบัติได้หรือไม่
15. ซูเปอร์ฯ สีเขียว
กระแสตื่นตัวอยากมีส่วนร่วมแก้ปัญหาวิกฤต "โลกร้อน" ส่งผลให้ ผู้บริโภคเลือกเสพ-เลือกซื้อหาสินค้าจากองค์กรและธุรกิจที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
ดังนั้น ซูเปอร์มาร์เก็ตเองจึงพยายามปรับตัวให้เข้ากับค่านิยม ดัง กล่าว
ไม่ว่าจะติดตั้งแหล่งกำเนิดพลังงานแสงอาทิตย์ เลือกใช้อุปกรณ์ประหยัดไฟ รณรงค์ให้ประชาชนใช้ถุงผ้า ไปจนถึงออกแบบโครง สร้างอาคารด้วยวัสดุไม่ทำลายสภาพแวดล้อม
นับเป็นทิศทางที่ดี และบีบให้เจ้าของธุรกิจจำต้องแสดงสำนึกดูแลสังคมส่วนรวมสูงขึ้นกว่าในอดีต
1.บรรจุภัณฑ์ติดบาร์โค้ดอัจฉริยะ2.อาหารสำเร็จรูปสไตล์ละติน
3.อาหารชุด
4."ถุงผ้า"ในซูเปอร์ฯ รับกระแสแก้โลกร้อน
5.ซูเปอร์มาร์เก็ตบนมือถือ
6.เครื่องฆ่าเชื้อรถเข็น
เนื้อหาจากบทความเรื่อง
"Grocery Store of the Future."
นิตยสารบิสสิเนสวีก สหรัฐอเมริกา
credit : หนังสือพิมพ์ข่าวสด หน้า21 วันที่ 08 กันยายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6858 ข่าวสดรายวัน
ที่ชอบที่สุด ก็คือ รถเข็นปลอดเชื้อ
ตอบลบน่าจะเหมาะกับช่วงไข้หวัดใหญ่ 2009 ระบาดดี
แล้วก็สินค้าใส่ใจโลก ดูเป็นอะไรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม
และใส่ใจโลกดัจัง
พรรณราย (แมม)